วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการทำสมาธิเคลื่อนที่

                                                                           

เทคนิคการมีสติหรือกำหนดรู้นี้จะต้องมีสิ่งล่อ ชักนำจิตให้มา เช่น การท่องถ้อยคำ(บริกรรม)การจัดสภาพแวดล้อม เพลงกล่อม          อากาศ กลิ่น เสียง แสง เป็นต้น หลักหนึ่งที่ใช้ได้ผลโดยง่ายคือ   การล่อจิตด้วยการท่องว่า "อย่าให้เสร็จๆ" ขณะที่ทำการใดๆ  และเมื่อจิตคิดเรื่องอดีต อนาคต หรือวิตกกังวล ให้ท่อง"อย่าคิดๆ"  แล้วรีบนำจิตมาเกาะเกี่ยวกับสิ่งที่ทำ     และบางครั้งจิตจะหนีไปขณะทำการใดๆ หรืออยู่เฉยๆ ก็ท่องว่า "รู้ๆหรือกำหนดรู้ๆ" 


เทคนิคดังกล่าวนี้ท่องเพื่อล่อหรือชักนำจิตให้มาเกาะเกี่ยวกับการงานหรือสิ่งที่ทำนั้น  และเมื่อจิตเกาะกับสิ่งที่ทำแล้วก็ไม่ต้องท่องต่อไปอีก    ซึ่งเทคนิคที่สำคัญสุด  คือ ทำการสิ่งใดๆ ก็ตามต้องทำอย่างช้าๆ และจะเร็วขึ้นเอง กล่าวคือตัวสติจะชอบเกิดในจังหวะที่ช้า   ส่วนตัวตัณหาจะเกิดไม่เป็นจังหวะและจะเร่งเร้าร้อนหรือเคลื่อนที่เร็ว  


และขณะทำการใดๆหรืองานต้องมองแค่คืบแค่ศอกหรือเป็นส่วนๆของงานเป็นต้นว่า ซักผ้า ก็มองแค่หนึ่งตัวอย่ามองหลายตัว จิตจะเหนื่อย    หรือพบเห็นตัวหนังสือมีข้อความเนื้อหามากหลายบรรทัดหลายหน้ากระดาษ    เมื่อจิตรับรู้ก็จะเหนื่อย   ไม่อยากอ่าน ก็ต้องมองที่ละถ้อยคำ ถอนหญ้า เกี่ยวข้าวยกสิ่งของจำนวนมากๆก็เช่นกันให้มองเป็นส่วนๆ    หรือชิ้นๆ


หากขับรถก็ให้มองทางและท่องว่า "อย่าให้ถึง"  (มันถึงอยู่แล้ว เพราะเรากำลังขับรถไปยังที่หมาย เปิดร้านขายของก็ไม่ต้องคิดว่า   จะขายได้เพราะมันขายได้อยู่แล้ว เนื่องจากเราเปิดร้าน    และเมื่อเกิดสติแล้วสมาธิก็จะตามมาและก็ไปถึงลำดับขั้นอารมณ์(เพลิดเพลิน) จากนั้นค่อยๆสังเกตลมหายใจเข้าและลมหายใจออก(หายใจยาวๆ)   และก็ใช้ปัญญาดัดแปลง ประยุกต์พัฒนาหน้างานโดยวิเคราะห์และสืบสาวหาเหตุปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนั้น  หรือหาหลักการเคลื่อนไหวของร่างกายและวิธีทำงานให้ง่ายที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุดกับทั้งได้งานดีสุด       
   
                                                    
การปฏิบัติดังว่ามานี้  จึงเป็นไปตามดังคำพูดพระที่กล่าวไว้ว่า การปฏิบัติหน้าที่หรือการทำงานก็คือ การปฏิบัติธรรม นั้นเอง   และหากจะทำสมาธิเคลื่อนที่ได้ดีต้อง  ขยัน    ทำการงานหรือสิ่งใดๆ     ซึ่งหลักศาสนาพุทธหาได้อยู่ที่การรู้และเข้าใจพระธรรมคำสอนไม่ แต่อยู่ที่การปฏิบัติเป็นหลักโดยยึดที่ตัวสติหรือรู้ในสิ่งที่กระทบผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ(อายตนะ)   และทำความเข้าใจพิจารณากับสิ่งที่สัมผัสผ่านเข้ามานั้น      

         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม