วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กฎ 3 ข้อ เพื่อมิให้ยึดมั่นถือมั่น

กฎ 3 ข้อ เพื่อมิให้ยึดมั่นถือมั่น

ข้อ 1 มีเท่าที่จำเป็นและเท่าที่ต้องใช้ เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ (รวมทั้งภรรยาหรือสามีด้วย)

ข้อ 2 ลดขั้นตอนของการดำเนินชีวิต เช่น จากเสื้อมีแขนมาสวมเสื้อกล้าม ดื่มกาแฟไม่ต้องใส่น้ำตาล ไม่ใช้เครื่องประทินโฉมทุกชนิด ตัดผมสั้นเพื่อไม่ต้องหวีไม่ต้องใส่น้ำมัน อย่างนี้เป็นต้น

ข้อ 3 หาวิธีการที่ง่ายที่สุดตามข้อ 2

หมายเหตุ : ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับสติ
สติ ทำให้สุข ดับตัณหา(ทุกข์) เกิดปัญญา

เทคนิคการใช้มือเป็นตัวกำหนดรู้ หรือตัวกำหนดสติมิให้เผลอ

ทคนิคการใช้มือเป็นตัวกำหนดรู้ หรือตัวกำหนดสติมิให้เผลอ


ให้ระลึกไว้ว่า ในการออกแรงหรือกระทำการใดๆก็ตาม ที่สำคัญให้รักษาจังหวะให้คงที่ อย่าออกแรงเพิ่ม การออกแรงเพิ่มนั้น หมายถึงตัณหา(ความปรารถนา) เกิดขึ้นแล้ว โดยที่เราไม่รู้ตัว(รู้กาย) โดยตัณหานั้นเกิดตลอดเวลา เช่นเมื่อเราขยี้ผ้า ขัด ถู เช็ด ลูบ เราจะออกแรงเพิ่ม โดยออกแรงกด หรือเพิ่มความเร็วรอบ(ความถี่)  ทำให้เมื่อยมือ และในระหว่างนั้นเอง ใจหรือจิตก็เหนื่อย เนื่องจากจิตเกิดความปรารถนา ต้องการให้งานเสร็จสิ้น แม้กระทั่งการเขียนหนังสือ เราจะต้องไม่ตวัด การตวัดเป็นการเพิ่มความเร็วช่วงปลายของตัวอักษรและกดทำให้เมื่อยมือ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เมื่อเอาการงานเป็นฐานของสติ ต้องไม่ออกแรงเพิ่ม เช่น กด ถี่ ซอย รูด(รูดใบกระเพา) ลากยาว สะบัด ปัด ปาด สลัด ตวัด กระทุ้ง กระตุก เตะ ต่อย ชก และนอกจากนี้ เมื่อทำสิ่งใดซ้ำแนวการเคลื่อนที่เดิม ให้ท่องคำใดๆ เช่น นับ 1 ถึง 10 นะโม พุทธายะ(ท่องให้จิตเกาะเกี่ยวกับการงาน เป็นอุบายล่อจิต เช่น แปลงฟัน นับ 1-10) และที่ว่าให้รักษาจังหวะ หรือคาบของการเคลื่อนที่ หรืออย่าเปลี่ยนแปลงจังหวะนั้น เพื่อมิให้ลมหายใจขัด หรือไม่สอดคล้องกับการเคลื่อนไหว อนึ่ง สติ จะมีความหมายอย่างไรก็ตามแต่ ให้รู้ว่าหมายถึงการรู้ตัว...รู้ใจ  ใจนึกคิดวิตกอะไรก็ให้รู้ไว้  สามารถควบคุมกายและจิตได้โดยตลอด เมื่ออินทรีย์ปะทะสังสรรค์สิ่งที่มากระทบ ให้ทำความรู้ไว้ แต่อย่าให้เกิดวาจาหรือการกระทำออกมา เช่น เตะ ตบ เป็นต้น


บทความที่ได้รับความนิยม