วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมาธิเคลื่อนที่กับการดูจิต

                    
เมื่อท่านใดได้ฝึกหรือปฏิบัติสมาธิเคลื่อนที่โดยเอาการงานหรือการทำการใดๆ เป็นฐานของสติแล้ว จะเห็นได้ชัดเจน ชัดเจนว่า เมื่อท่านออกแรงเพิ่มนั้นหมายถึงตัณหาเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นการดูจิตไปในตัวว่า เร้าร้อน ดิ้นร้น ปรารถนา อยาก หรือทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ฉะนั้นการทำสมาธิเคลื่อนที่จะทำให้เกิดการดูจิตอย่างละเอียด ทุกขณะ ทุกขณะ หาใช่ดูเป็นวินาทีต่อวินาทีหรือไม่ต่อเนื่อง ในทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า ระบบดิจิตอล การดูจิตทุกขณะอย่างต่อเนื่องนี้ เรียกว่า ระบบอนาล็อค เมื่อเกิดการดูจิตขึ้นแล้ว นั้นหมายถึงเรามีสติหรือรู้ตัวทันทวงที เราก็จะทำการปรับแต่งการเคลื่อนไหวของกาย หาวิธีการเคลื่อนไหว หรือส่วนประกอบหรือเหตุปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิม(การพัฒนา) ซึ่งตรงนี้ทำให้เกิด “อนุพันธ์ย่อยทางปัญญาหรือ ธรรมวิจัยในงาน หากอนุพันธ์ย่อยทางปัญญามีผลรวมเป็นจำนวนมากๆก็จะทำให้การทำการใดๆ หรือการงานใดๆ เป็นผลเลิศ คำว่าผลเลิศนี้หมายถึง งานเป็นผลดี คนก็เป็นสุขยิ่ง(ใช้พลังงานน้อย ไม่เหนื่อย) หรือในทางบริหารจัดการอาจเรียกสมาธิเคลื่อนที่นี้ว่า การจัดการทางวิทยาศาสตร์ระดับจุลภาคมองขอบเขตของกายหรือเฝ้าอยู่กับกาย แต่ได้ผลในทางศาสนาด้วยเรียกว่า ดูจิต จึงชี้ให้เห็นว่า สมาธิเคลื่อนที่เป็นการปฏิบัติธรรมชั้นสูง ไม่จำกัดสถานที่ เวลา โอกาส จึงจริงอย่างคำที่ว่า กรรมฐานหมายถึง ที่ตั้งแห่งการงาน จึงชอบแล้วว่า เอาจิตหรือหาที่อยู่ให้จิตผูกไว้ที่การงาน

            ข้อควรสังเกตของสมาธิเคลื่อนที่ คือคำว่า จังหวะ หมายถึง คาบ รอบ แนวการเคลื่อนที่เทียบได้กับลมหายใจเข้าเป็น ๑ คาบ ลมหายใจออกก็เป็นอีก ๑ คาบ  ฉะนั้น ๒ คาบ รวมกันเรียกว่าเป็น ๑ รอบ และคำว่า ลมหายใจ อันหมายถึงตัวกำหนดสติ หรือกำหนดรู้ตามนัยพุทธศาสนาสุภาษิตกล่าวว่า  สติกำหนดลมหมายใจเข้าออก...............ลมหายใจเกิดง่ายนิดเดียว เพียงแค่ยกแขน ขา เข่า เอียง หัว ตัว กาย ลุก นั่ง ก็เกิดลมเข้าออกแล้ว เช่น การเดินก็เกิดลมเข้าออกที่ปลายจมูกแล้ว เหตุที่เราไม่สามารถสังเกตลมหายใจหรือรู้สึกมีลมเข้าออกที่ปลายจมูกได้ก็เพราะมีเหตุปัจจัยเกิดจาก จิตส่งออกนอก(วิตก วิจารณ์ ปีติ ฟุ้งซ่าน สงสัย)หรือมีเรื่องราวต่างในชีวิตมากเหลือเกิน อยาก โกรธ พอใจ ไม่พอใจ

            จึงสรุปได้ว่า สมาธิเคลื่อนที่นั้น ต้องการฝึกผู้ปฏิบัติให้มีสติยิ่งยวดหรือมีสติไม่เผลอทุกอิริยาบถหรือให้น้อยที่สุด และในขณะเดียวกันก็ตามดูจิต ดูธรรม(ไม่ขยัน ง่วง)ไปในตัว เพื่อทำให้เกิดปัญญา(จิตตื่นรู้)และยกขึ้นไปสู่ไตรลักษณ์ มองเห็นความแตกดับของสรรพสิ่ง หรือสิ่งต่างๆทั้งปวง หรือขันธ์ ๕ เป็น”ไอ้ติม เมื่อจิตเห็นเช่นนี้แล้วก็คลายความยึดมั่นถือมั่นหรือความมั่นหมายในสิ่งใดๆ จิตจึง วางเฉย และจะลู่เข้าหา จิตว่าง นั้นเอง (ทั้งหมดแตกดับ แตกดับทั้งหมด คน สัตว์ สิ่งของ โลก จักรวาล อวกาศ)

เราอยู่กันคนละแวบ รักกันเถอะ อย่าโกรธหรือทำร้ายกันเลย โลกนี้เต็มไปด้วยหมู่สัตว์ เรารู้ว่า เราอยู่กันแบบสัตว์ๆ หรือผีๆ(ไม่มีสัจจะ) เปรตๆ(อยากได้) สัตว์ๆ(ไม่รัก เคือง ฆ่า ทั้งหมดเผา)
 

บทความที่ได้รับความนิยม