วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สมาธิเคลื่อนที่กับข้อคิดข้อธรรม




                          สมาธิเคลื่อนที่กับข้อคิดข้อธรรม

๑. ไหนจะต้องตาย แย่งชิงกันไปทำไม ไหนจะต้องตาย เบียดเบียนกันไปทำไม ไหนๆจะต้องตายดิ้นรนกันไปทำไม ไหนๆจะต้องตาย วุ่นวายกันไปทำไม เมื่อภาวนาหรือระลึกบ่อยๆ ใจจะเบา สบาย หายเหนื่อย และจะไม่เหนื่อยอีก

๒.ทุกชีวิตมีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกและดับไปเป็นธรรมดา จะพึงหวังหรือมั่นหมายหรือปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังหรือมั่นหมายหรือปรารถนาได้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไป เคลื่อนไป หรือลำเลียงไปสู่จุดสลายและหาย(ไอติมหรือไอศรีม)ตัวอยู่ทุกขณะๆ อีกไม่ช้า เราทั้งหลายจะไม่ได้พบกันอีกชั่วนิรันดรกาล เรามารวมตัวกันแวบหนึ่งในอาณาจักรแล้วก็สลายหายไป............... ถ้าเข้าใจชีวิต จะรักทุกชีวิต ชีวิตเป็นที่รัก  พึ่งให้ทุกชีวิตอยู่รอดกันไป ตราบเท่าที่จะนานที่สุด ย้อนเวลาไม่ได้สรรพสิ่งทั้งปวงไหลไปสู่ความแตกดับทั้งสิ้น เมื่อเป็นดังนี้ เราจะต้องอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข รักกัน เมตตากัน ช่วยเหลือกัน ไม่เบียดเบียนกัน และต้องซื่อสัตย์หรือซื่อตรงแก่กันและกัน(อย่าอยู่แบบหลอกกันไปวันหนึ่งๆ)

๓.ทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เวลาใกล้จะหมด สุขเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เวลาใกล้จะหมด มีและได้ทุกอย่าง แต่เวลาหมด สุดท้ายเหนื่อยฟรี แต่จิตวิญญาณต้องดำเนินไปตามภพภูมิที่ทำมา หนาวมาก เราจะต้องไม่เป็นผีร้องไห้ และวนเวียนไม่รู้จบ

๔.อีกไม่นานหนอ  กายนี้จะทับถมแผ่นดิน  ระวังนะขับรถ ระวังนะคบเพื่อน ระวังนะมิให้บาปเกิดขึ้นแก่จิต

๕.ไม่ควรคิดได้ คิดเสีย(ให้) เป็นพระ

๖.ต่างคนก็แต่ละจิตแต่ละใจ มนุษย์ต่างมีความคิดความเห็นไม่เหมือนกัน จะกำหนดให้คิดเหมือนกันหมดก็ไม่ได้ ธรรมดา ยอมรับคุณสมบัติคนตรงนี้ ใจสบาย เช่นนั้นเอง

๗.ฆ่ากันทุกวันนี้เกิดจากอะไร สงครามทุกวันนี้เกิดจากอะไร หลอกกันทุกวันนี้เกิดจากอะไร 

๘.เหตุผลมนุษย์ค้ำจุนโลกไม่ได้ทุกเรื่อง และก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะค้ำจุนโลกได้อีกแล้ว เว้นแต่เมตตา( เมตตาคำเดียวหัวใจเกิดโพธิ์สัตว์) เวลาที่อยู่บนโลกน้อยมาก ทั้งหมด......รักกัน....พัก)

๙.แก้คำสาบกระทำได้ยาก เราต้องอดทนกันอีกเยอะ อดทนมากๆ ปัญญาย่อมเกิด

๑๐.เราอายุไม่ยืน เราอยู่ได้ไม่นาน เราเหลือเวลาชีวิตไม่เท่าไร เมื่อภาวนาหรือระลึกบ่อยๆ จะรู้สึกเบา สบาย ตัดกระแสยึดเกาะสิ่งใดๆ โกรธก็หายโกรธ เหนื่อยก็หาย ใจจะสงบและเย็น

๑๑.เราต้องตื่นขึ้นมาดูโลกที่ต้องจาก ทำกรรมดีจิตผ่องใส ทำกรรมไม่ดีจิตเศร้าหมองเพราะสัญญากรรมปรากฏจิตจะปรุงแต่งหรือคิดนึกเรื่องที่ก่อหรือทำมานั้น ใจไม่สบาย....กรรม....เกิดเป็นมนุษย์ต้องทุกข์.....ต้องอดทนมีสติและความเพียร....)

๑๒.อยู่ร่วมกันไม่เข้าใจกันทุกข์(กรรมบีบคั้น) สิ่งต่างๆมีคุณสมบัติเฉพาะจะแสดงออกตามคุณสมบัตินั้นๆ เช่น เกลือเค็ม เสือดุ คนแต่ละคนไม่เหมือนกัน(ลูกหรือพี่หรือน้องก็มีนิสัยแตกต่างกัน) ถ้าเข้าใจจิตยอมรับตามความเป็นจริง ก็จบเพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง ธรรมดา หรือสิ่งต่างที่เกิดขึ้นมีเหตุมีปัจจัย ควบคุบบังคับบัญชาไม่ได้ ถ้าจิตไม่ยอมรับหรือไม่เข้าใจก็เหนื่อย หงุดหงิด เคือง คับแค้นใจ เสียใจ ในแต่ละวันเราจะพบและติดต่อคนทั้งพอใจและไม่พอใจ พึ่งกำหนดรู้ไว้ ใจจะได้ไม่เหนื่อย

๑๓.อายุห้าสิบต้องเตรียมปรับปรุงกิจการหรือหน้าที่การงานเพราะเมื่อคำนวณอาศัยหลักเหตุปัจจัยและความเป็นจริงแล้ว อาทิ เลี้ยงลูกโตแล้ว สังขารออกอาการ(รังของโรค) หากไม่เตรียม ภาระหน้าที่ไม่ลดหรือเพิ่มอีก(โดยหลักจิตปรารถนาไม่สิ้น) จะมีปัญหาขณะแตกดับ จิตจะดิ้นร้นไม่เต็มใจตายทำให้ไปสู่ทุคติ กับทั้งลืมธรรมติดโลก นอกจากนี้ศาสนาฮินดู หลักอาศรม ๔ อายุห้าสิบนั้นเป็นช่วง วนปรัสถ์(ป่า อยู่ป่า)

๑๔.ไม่เชื่อพุทธศาสนาไม่เป็นไร ธรรมเป็นข้อพิจารณา แต่จะพิสูจน์กันเมื่อตาย แต่แล้วก็สายเสียแล้ว ควรเริ่มทำกรรมดีแต่วันนี้

๑๕.รู้และใช้ทรัพย์ให้เป็นสุข ไม่พึ่งมีทรัพย์แล้วเป็นทุกข์(รถใหม่ กิ๊กใหม่ต้องระวัง มีมากต้องรักษา มีปัญหาเวลาไป(ตาย)

๑๖.ไม่ควรมีชีวิตแบบตายทิ้ง ตายทิ้ง เพราะเกิดใหม่ยากมากที่สุด กลุ่มมนุษย์สัตว์ในโลกเป็นเพียงเมฆหมอกเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกิดดับสืบเนื่องติดต่อกันไปที่ย้อนเวลาไม่ได้ เมื่อโน้มดีๆจะเห็นว่า สิ่งต่างๆเป็นไอติมหรือไอศรีม สมมุติทั้งชื่อและรูปร่างเพราะสลายละลายหายหมด จะไม่ยึด มีทรัพย์ก็พัง ซีด เก่า เสื่อม ชำรุด ป่วย แก่ ไม่สวย เริ่มมีกลิ่น เหนียวตัว เหงื่อไคล

๑๗.ทำไมมนุษย์ส่วนใหญ่จึงแชร์ดอง(จม เมา หลง กิเลส ติด ยึด ยางเหนียว บ้า)อยู่กับสิ่งที่มีที่เป็นทั้งเวลาชีวิตสั้นมากเมื่อเทียบกับเวลาอนันต์หรืออสงไขยหรืออายุโลก เหนื่อยมาตลอดชีวิตแล้วมาสิ้นลงที่ความตายพร้อมกับทรัพย์ที่หามา แบบนี้เรียกว่า มีชีวิตแบบตายทิ้ง ตายทิ้ง แค่นี้หรือ พระพุทธเจ้าท่านทรงประกาศอิสรภาพเช่นว่านั้นให้แก่มวลมนุษย์แล้ว ชั่งเดินตามได้ยากจริงๆ เพียงแค่ทำทานรักษาศีลเจริญภาวนา  กรรม.....

๑๘.เกิดเป็นคนแสนยาก ได้พังธรรมก็แสนยาก เข้าใจและปฏิบัติตามก็ชั่งแสนยาก ไฟตะเกียงหล่อเลี้ยงด้วยน้ำมัน กายคนหล่อเลี้ยงด้วยอาหาร แต่ใจต้องหล่อเลี้ยงด้วยคุณธรรม(ทำดีเพื่อจิตวิญญาณ คนแก่บางคนไหว้พระสวดมนต์ใส่บาตรให้ทานแล้วเห็นยิ้มแป้นทุกราย)

๑๙.มนุษย์มีเวลาน้อย ค่อยๆอยู่กันไป ให้คิดเสียว่า เราเคยเบียดเบียนกันมา เป็นกรรมของวัฏฏ์

๒๐.เทคนิควิธีตาย หากเต็มใจตายสภาพจิตจะไม่ดิ้นร้น จะสงบไปเกิดใหม่เข้าสู่ภูมิภพที่ดีเป็นสุคติ หากไม่เต็มใจจิตยังห่วงลูกหลานทรัพย์สมบัติจิตจะดิ้นร้นกระวนกระวายหายใจแรงเพื่อสูดอากาศที่จะหมด ธาตุลมแปรปรวนจิตเศร้าหมองไปสู่ทุคติ เมื่อเป็นดังนี้จึงต้องมีการเตรียมตัวตายกำหนดจิตมีสติทำสมาธิตั้งมั่นตายหรือระลึกถึงบุญกุศลทีทำมา ละอกุศล เจริญกุศลแต่วันนี้

๒๑.ธรรมะฉีดยัดเข้ามนุษย์บางก็ไหลออก หากไม่โน้มเข้ามา(มนุษย์แต่ละคนมีและทำกรรมมาไม่เหมือนกันกับทั้งเหตุปัจจัยอื่นจึงมีผลต่อการเข้าถึงธรรม)

๒๒.ยัสสกุลบุตรฟังธรรมครั้งเดียวบรรลุโสดาบัน พาหียะฟังครั้งเดียวอรหันต์ ธรรมพุทธเจ้าของจริง เป็นศาสนาแห่งปัญญา เรื่องที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์คือทุกข์ที่กำลังดิ้นร้นทุกวันนี้

๒๓.รู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิด แล้วจงรีบดับ หากไม่มีธรรมาวุธก็ภาวนาถ้อยคำใดๆ เช่น กรรมๆ ธรรมดาๆ เช่นนั้นเองๆ  ไม่เที่ยงๆ ชั่งมันๆ (การมีอารมณ์ทำให้จิตหรือใจเสียพลังงานเหนื่อยเป็นการทำร้ายจิตวิญญาณ ไม่ควรปรุงแต่งจิตมากรีบดับซะ)

๒๔.เราต้องยอมรับกฎธรรมชาติที่ว่า สัตว์ใหญ่กินสัตว์น้อยแล้วจะสบายใจ แต่ที่สบายจริงๆ คือ รุ่นพี่ที่เลวที่สุดก็ดีกว่ารุ่นน้องที่ดีที่สุดเพระมันพร้องกับหลักพุทธเจ้าที่ให้ถืออาวุโส พรรษาในติตติรชาดก ที่มีนก ลิง ช้าง นั้น โดยนกอาวุโสสุด ช้างน้องสุด แต่เราเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐกำหนดได้

๒๕.กายนี้ยื้อยาก เลี้ยงดีอย่างไรก็ไม่เชื่อง เอาช้างทั้งโลกมาฉุดก็ไม่อยู่ ไหลราบลงดิน โลกนี้ไม่มีเรา แผ่นดินนี้ก็คือเรานั้นเอง

๒๖.กายนี้ไม่เที่ยงเป็นรังของโรคพร้อมแตกดับทุกเมื่อ เช่นขับรถ มีวัตถุธาตุหลงพุ่งเข้ามาหรือเสพเข้าไปอาหาร สิ่งแวดล้อม (ต้านไม่อยู่ กายนี้ ต้องพังลง แตกสลายหายไปเป็นที่สุด เวลาหมด ทรัพย์ก็หมดทันที อย่าหากินมาก พอดี พอดี ตามกำลังแห่งตน)

๒๗.โลกของเด็กย่อมสดใส แต่ผู้ใหญ่พบชีวิตจริงตรงกันข้าม เราสร้างสังคมให้แข่งขันต่อสู้ตั้งแต่เด็กยันโตกับทั้งสะสมความไม่จริงก็ต้องรับกรรมกันหน่อย เป็นธรรมดาสู้ต่อไป เวลาผ่านไปเรื่อยๆ เราก็เหมือนคนแก่คนหนึ่ง แล้วก็ต้องหมอบ และราบไปกับพื้นดิน หรือไหลลงดินทั้งหมดไม่ว่าแข็งแรงหรืออ่อนแอ รวยหรือจน ฉลาดหรือโง่

๒๘.เกิดมาเพื่อใช้ชีวิต เก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตให้มากสุด แล้วก็วางมันทุกๆ อย่าง เราควรเริ่มวางหรือศึกษาวิธีวาง แต่หาใช่ว่าจะวางกันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเวลาชีวิตที่เหลือน้อยเต็มที่ ติดโลกหลงโลกย่อมเหนื่อยเป็นธรรมดา........สู้.......อดทนเพียรสติ(ภพมนุษย์ยังไงก็ทุกข์ ถึงสุขเดี๋ยวก็เจ็บอีก ส่วนผู้มีอายุมากทนอีกนิด)

๒๙.ถ้าเข้าใจชีวิต จะรักทุกชีวิต ชีวิตเป็นที่รัก พึ่งให้ทุกชีวิตอยู่รอดกันไปตราบเท่าที่จะนานที่สุด ย้อนเวลาไม่ได้ไหลไปสู่ความแตกดับทั้งหมดทั้งสิ้นไม่เหลือสรรพสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ อาณาจักร โลก วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม อุดมการณ์ ทัศนะ ระบบความเชื่อใดๆ ทั้งหมดทั้งสิ้นไปหมด หายหมด

๓๐.ต้องทุกชีวิตอยู่รอดกันไปตราบเท่าที่นานที่สุดเพราะเราอยู่บนจุดของเส้นทางอนันต์ ย้อนเวลาไม่ได้ เวลาผ่านไปเรื่อยๆหายกันหมด เมื่อโน้มเข้ามาจะรู้สึกว่า เบา หายเหนื่อย ไม่ยึด หรือตกใจ หรือใจหาย หรือเริ่มเห็นแจ้งอะไรบ้างอย่าง หรือใจเริ่มเกิดความรักความเมตตาหรือคิดแบ่งปัน หรือเดินออกมา หรือเข้าหาธรรม

๓๑.สิ่งต่างๆไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยอิสระต้องมีเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน หรือเกื้อกูลกันหรืออาศัยกันเกิดและหรือสร้างกันหรือเสริมสร้างกันมา ชีวิตมนุษย์สัตว์มีสายใยหรือเหตุปัจจัยเชื่อมโยงกับสรรพสิ่งต่างๆทั้งหมด ไม่ว่าในโลกหรือนอกโลก อาทิ หากไม่มีดาวพฤหัสเป็นโล่ห์บังวัตถุธาตุในอวกาศโลกก็แตกพังลงไปแล้ว ตึกที่สร้างไว้ก็พังหายไป

๓๒.หลักปฏิบัติธรรมคือ การฝึกสติเพื่อเห็นหรือดูจิตหรือตรวจจับความนึกคิดปรุงแต่งหรืออารมณ์ของใจทำกรรมไม่ดี สติเกิดไม่ได้เพราะจิตปรุงแต่งเรื่องที่ทำหรือก่อไว้นั้น จึงต้องมีศีล ฝึกหรือทำสมาธิก็เพื่อให้เกิดสติ หากไม่ฝึกสติ เมื่อมีสิ่งใดมากระทบ เช่น คนพูดไม่ดีกับเรา เราก็โกรธใจปรุงแต่งดิ้นรนและร้อนคับแค้น กว่าจะรู้ตัวว่าโกรธใช้เวลาหลายวินาที นาที หรือเป็นคืนเป็นหลายวัน(โกรธ และก็มาโกรธ.......) หากมีสติจะกำหนดรู้ได้ทันทีหรือเร็ว ใจก็ไม่เหนื่อย แต่เมื่อมีสติแล้วอาจดับโกรธนั้นไม่ได้เพราะปัญญายังน้อยอยู่ จึงต้องฝึกพิจารณา ในชั้นนี้อาจใช้วิธีล่อจิตเพื่อข่มหรือหยุดการคิดด้วยการภาวนาหรือท่องถ้อยคำใดๆ เช่น โกรธเขาเราร้อนๆ เมตตาๆๆ โกรธหนอๆๆ ชั่งมันๆ ปล่อยไปๆ เช่นนั้นเองๆ ธรรมดาๆ

๓๓.อุบายแก้อยาก (สิ่งภายนอก ทรัพย์) พิจารณามองเห็นโทษภัย ภาระ การแปรเปลี่ยนอายุไขและความดับของสิ่งภายนอกนั้น กับทั้งกำลังและเวลาชีวิตที่เหลืออยู่ทั้งประโยชน์แห่งทรัพย์นั้น(มีสิ่งใดก็ทุกข์กับสิ่งนั้น จิตไม่อิสระหรือผูกพันหรือห่วง)

๓๔.คนทำงานจิตสงบดี คนไม่มีงานทำจิตฟุ้งซ่านเปิดช่องอกุศล (คิดดีและไม่ดีไปในอนาคตและอดีต) คนมีงานมากเหนื่อยวิตก เว้นแต่มีเทคนิควิธี ทำเสร็จสำเร็จเป็นนักรบ หนุ่มสาวคิดวาดภาพไปในอนาคต คนแก่ฟุ้งซ่านคิดนึกไปในอดีตที่ผ่านมา(ฟุ้งซ่านเสียพลังจิต ไม่ควรปล่อยใจ ปล่อยจิต ขณะคิดนึกต้องรู้ตัวว่ากำลังคิดนึก)

๓๕.ทำกรรมเช่นใดใจก็ปรุงแต่งเช่นนั้น ทำกรรมไม่ดีใจก็ไม่เป็นสุข งานค้างจะวิตก ทำให้ผู้อื่นไม่พอใจใจก็หวั่นไหววิตกฟุ้งซ่านหดหู ไม่ก่อเวรใจย่อมเป็นสุข ธรรมเป็นที่พึ่งแห่งจิตวิญญาณ สิ่งภายนอกดับทุกข์ใจไม่ได้ มิฉะนั้นพุทธเจ้าทรงไม่เดินออกมา มีทั้งหมด......แต่สิ่งนั้นก็หายหมด รูปังอนัตตา(มีสมบัติ เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ.....วิบัติ อาทิ รถบ้านสิ่งของจะเก่าพังน้ำท่วมฝนสาดถูกลักถูกขอถูกยืมถูกทำให้เสียหาย หรือหายไป)

๓๖.คิดเมตตาใจเบา คิดเคืองโกรธอาฆาตแค้นพยาบาทใจหนัก(เสียพลังจิต) ใจให้(ทาน) ใจเบา คิดขอใจหนัก 

๓๗.เมื่อถึงวาระสุดท้าย พ่อแม่พี่น้องลูกเมียผัวเพื่อน คนที่รักเรา เงินหรืออำนาจก็ช่วยเราไม่ได้ ฉะนั้น ต้องทำกรรมดีเพื่อจิตวิญญาณในการเดินทางต่อไป ชีวิตมิใช่แค่ภพนี้

๓๘.แก่นแท้ของชีวิตคือใจ อาศัยธรรมเป็นที่พึ่ง ส่วนกายไม่เที่ยง มีอายุไขแวบๆ เมื่อบำบัดให้แก่กายมาก(ดิ้นรนแสวงหา) ใจก็ถูกทำร้าย(ดิ้นรนกระวนกระวายเร้าร้อนหดหู่คับแค้น)และหลงทางติดในสุขทุกข์

๓๙.ทรัพย์นี้ก็ไม่เที่ยง ก่อนได้มาก็ทุกข์(อยาก) ได้มาแล้วก็ทุกข์ต้องดูแลรักษามีค่าใช้จ่ายพอจากไปก็ทุกข์ จะเอาไง กรรม....... ต้องสงสารคนมีมากๆ ที่ไม่ได้ใช้หรือใช้น้อยครั้ง อุตส่าห์ดิ้นรนแสวงหามาและต้องแบกทรัพย์นั้น เมื่อถึงเวลาจาก เจ็บปวดที่สุด (ทั้งหมดของกู ของกูทั้งนั้น)

๔๐.เมื่อร้อยปีที่แล้วตำแหน่งนี้(ตำแหน่งใดๆ เช่น ผู้อำนวยการ หรือร้อยเอก)ก็ไม่มี ร้อยปีต่อไปตำแหน่งนี้ก็ไม่มี เรามารวมตัวกันแวบหนึ่งก็สลายหายไป ไม่ควรมั่นหมาย อยู่กันไปเรื่อยๆ ขอให้ใจเป็นสุข

๔๑.ปัญหาทุกอย่างแก้ที่จิต(เห็นชอบคิดชอบ) กฎหมายควบคุมเพียงเปลือก มรรคแปดควบคุมถึงจิตวิญญาณ เพราะกิเลสตัวเดียวถึงเป็นเช่นนี้โลกมนุษย์

๔๒.กายนี้ไม่เที่ยง กายนี้เป็นรังของโรค กายนี้มีอายุไข กายนี้มีภัยและกำลังถูกบดขยี้พร้อมดับทุกเมื่อ ทุกขณะ เมื่อโน้ม(โอปะนะยิโก)ความตรงนี้เข้ามา เริ่มเห็นอะไรดีๆ
 
๔๓.เมื่อแสวงหาติดใจสิ่งใด ใจก็จมอยู่กับสิ่งนั้น เวลาชีวิตก็หมดไป สิ่งที่ทำมาทั้งหมดก็สิ้นไป จิตวิญญาณที่เหลืออยู่จะไปอย่างไร คงต้องร้องไห้บนเส้นทางที่ยาวไกลเป็นอนันต์ หากกรรมที่ก่อมาเป็นอกุศลต้องเวียนเกิดเวียนตายนานแสนนานไม่รู้เท่าใด

๔๔.มีสิ่งใดก็ทุกข์กับสิ่งนั้น มีตามีหูมีจมูกมีปากมีฟันมีอวัยวะน้อยใหญ่ก็ต้องดูแลรักษาแล้วแปรเสื่อมเกิดโรคหรือเป็นรังของโรค(ปวดหัว ปวดฟัน คันหู คันตา ตาเสื่อม เบาหวานไขมันความดัน ปอดไตตับเสื่อมพร่อง) ทั้งรถ เมีย ผัว ลูก บ้าน และกิจการงานอื่น แค่ผ่อนรถส่งบ้านก็แย่แล้ว หากมีซ่อมเปลี่ยนถ่ายจอดทิ้งแบตเตอรี่เสื่อมซีลรั่วปวดหัวอีก ไหนลูกขอ เมียผัวป่วย แม่เจ็บ นายบ่นว่า งานค้าง เพื่อนนินทา คับแค้นใจอีก เราอยู่กับทุกข์แต่มองไม่เห็นทุกข์เพราะเรามองไม่เห็นจิตหรือใจของเรา จิตเราตั้งไม่ได้หรือไม่สามารถอยู่กับปัจจุบันได้ นึกคิดหลายเรื่องทั้งอนาคตและอดีต แล้วไม่สงสารใจเราเลยหรือ จงเริ่มศึกษาและปฏิบัติธรรมแต่วันนี้ ทุกข์ท่านจะน้อยลง

๔๕.เมื่อเห็นศพ นำมาแก้กำหนัดได้ดีมาก เมื่อพบสาวสวยให้ภาวนาว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง พังผืดๆ ตกขาวๆ อาหารเก่าอาหารใหม่หรือเพ่งผ่านแป้งหรือผิวเพื่อเห็นกายในกาย(เห็นอสุภะ)เพื่อคลายกำหนัด(กำหนัดรีบกำหนดเช่นว่านั้น)

๔๖.เพราะอยู่ในร่าง(กาย)นานเข้าใจว่าเป็นตัวเราและสิ่งภายนอกก็เป็นของเราทั้งที่บังคับบัญชาไม่ได้(เพียงอาจควบคุมได้เพียงชั่วขณะๆหนึ่งเท่านั้น) เวลาใกล้หมดสิ่งที่หามาก็สูญเปล่า เหนื่อยฟรี
 
๔๗.ทุกอย่างไม่ใช่ของเรา เป็นของเราเพียงชั่วขณะที่กำลังแปรเปลี่ยนสลายหายไปดังไอติมหรือไอศรีม ไม่ควรยึด ได้มาเดี๋ยวก็ยังเดี๋ยวก็จาก มนุษย์มีเวลาน้อย

๔๘.เมื่อเห็นหญิงสวยให้เพ่งผ่านทะลุแป้งและผิวหรือลิปสติก และหรือท่องในใจว่า เนื้อหนังเอ็นกระดูกพังผืด และหรือตกขาว หรือผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หรือทุบศรีษะเพื่อให้เห็นอสุภะความไม่งามและมิต้องเสียเงินกับทั้งกำลังแรงและโทษภัยครอบครัวแตกแยกและต้องเลี้ยงดูหญิงนั้นเป็นภาระเสียค่าใช้จ่ายมีต้นทุน หากติดหรือตกลูก ยาวแน่ ชีวิตไม่จบ ตายไม่ได้ ซึ่งการกำหนดหรือพิจารณาเช่นว่านั้นก็เพื่อที่จะตัดหรือเบรคหรือเปลี่ยนกระแสความคิดเพื่อมิให้เกิดการกระทำหรือผลแห่งการกระทำเช่นว่านั้น อันเป็นการคลายกำหนด(กำหนัดรีบกำหนดหรือกำหนดรู้หรือมีสติ) อย่ามีเรื่องเยอะ จิตจะทำงานมาก ใบหน้าจะเศร้าหมอง

๔๙.ทั้งหมด.......แถว..ตรง.หน้าเดิน (ล้วนเดินหน้าไปสู่ความแตกดับ มีสิ่งใดสิ่งนั้นก็พังชำรุดไม่สวยป่วย จิตไม่อิสระเหมือนคุ้มแต่ไม่คุ้ม)

๕๐.เมื่อหงุดคับแค้นใจหรือโกรธ(เสียพลังจิต)กำหนดรู้ว่า แต่ละคนมีความคิดความเห็นสติปัญญาเหตุปัจจัยความเป็นมาแตกต่างกันพฤติกรรมจึงแสดงออกเช่นนั้นต้องอดทนให้สติปัญญาแต่ละคนพัฒนาไป หรือท่องภาวนาว่า เช่นนั้นเองเพราะสติปัญญา หรือบัวๆๆ(บัวสี่เหล่า) ธรรมดาๆ โกรธเขาเราร้อนๆ เมตตาๆๆ ปล่อยๆหรือหาอุบายวิธีใดๆเพื่อหาเหตุปัจจัยเพื่อหยุดกระแสความคิดครับ (เป้าเพื่อรักษาจิต)

๕๑.เพียงเวลา สถานที่ ตัวตนเปลี่ยน(ประเทศ โลก ภพ ภูมิ ชาติ ชรา มรณะ)สิ่งที่มีที่เป็นก็แปรสลายไป ไม่ควรมั่นหมายๆ
 
๕๒.เมืองมนุษย์ต้องแก้ที่กิเลสทางอื่นแก้ไม่ได้ มันเป็นเปลือก กฎหมายควบคุมเพียงเปลือกมรรคแปดควบคุมถึงจิตวิญญาณ

๕๓.ฝึกสติรู้ทันจิต เกิดฟุ้งซ่านหางานทำให้จิตเกาะ ทำหรือดูในสิ่งชอบ บอกตัวเองอยู่กับปัจจุบัน ใช้ปัญญาพิจารณาเหตุปัจจัย หรืออาบน้ำลุกเดินเปลี่ยนอิริยาบถ (เป้ารักษาจิต คนทำงานตลอดจิตจะสงบ มนุษย์มีเวลาน้อย)

๕๔.เมื่อแสวงหาติดใจสิ่งภายนอก ใจก็จมอยู่กับสิ่งนั้น เวลาชีวิตก็หมดไป ที่ทำมาก็เหนื่อยเปล่า

๕๕.การแก้วิตกกังวลคือ อย่าให้งานค้าง(จิตไม่โปร่ง) ทำให้สุดทาง ไม่มาให้ทวงถาม ซ่อมรบฝึกฝน เคยชิ้นกับเครื่องมือ ไม่รู้ถาม ศึกษาเพิ่ม วางแผนให้ชำนาญ พยากรณ์เห็นได้ ไม่นัดหมายผู้ใด คำนวณการให้ดี ไม่สร้างเหตุอกุศล ก่อเวรใดๆ มิ ฉะนั้น จิตเศร้าหมอง(เป้าเพื่อรักษาจิต ป้องกันจิต)

๕๖.ในวันหนึ่งๆ ควรระลึกหรือกำหนดบ่อยๆว่า อย่าคิดว่าเราจะต้องได้และอย่าคิดว่าเราจะต้องเสีย(ไม่ได้มาก็ทุกข์ เสียไปก็ทุกข์)

๕๗.มีหลายคนถามว่า ทำไมไม่ประสงค์เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ตอบว่า ชีวิตมิได้เกิดมาเพื่อสิ่งนี้มีหลายที่ต้องทำและหยุด เวลาชีวิตเหลือน้อย อยู่ ณ ตำแหน่งใดๆก็ได้ ขอให้สุขใจ(ใจ) ถ้าเข้าใจชีวิตและโลกสบายๆ แต่จิตมนุษย์ย่อมก็หวั่นไหวเหมือนกันหากมีน้อง เพื่อนและพี่ ได้หรือมีตำแหน่งสูงขึ้นโดยเฉพาะการมีรุ่น พี่รุ่นน้องตามสถาบันต่างๆ ถ้าเดินออกต้องเดิมพันเลือกธรรม ไม่เลือกโลกเพราะทางโลกมีทุกข์และภัยตามนัยพระพุทธเจ้า ควรกำหนดพิจารณาดีๆ โดยเฉพาะยุคนี้คนมีศีลมีวินัยน้อยทำให้หงุดหงิดคับแค้นกวนใจเบียดเบียนและกฎเกณฑ์ประเทศที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานหรือไม่ และวัฒนธรรมประเทศด้วยหรือไม่อีก สิ่งนี้ช่วยปลอบใจผู้ไม่ได้เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้ หยุดอยากต้องมีปัญญาหรือมีอุบายวิธี เช่น เห็นโทษภัย เวลาชีวิต สภาพร่างกาย ความตาย เวลาอนันต์ หรือเหตุปัจจัยอื่นๆ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราต้องหัดพิจารณาให้เห็นโทษภัย ความน่ากลัว และรู้สึกถึงความเบื่อหน่ายจริงถึงจะเดินออกไป หากยังมันอยู่ สมหวังอยู่ ได้อยู่ สนุกอยู่ยังไงก็เดินออกไม่ได้ คนบางคนฟังธรรมไม่รู้เรื่อง แต่เมื่อเจ็บปวด ทรมาน หรือใกล้ตายฟังรู้เรื่องชัดแจ๋ว แต่ก็สายเสียแล้วเพราะอกุศลเพียบ

๕๘.รู้ในสิ่งที่ใช้ เข้าใจในสิ่งที่จาก เพราะทุกสิ่งจะจากเราไป (ต้องศึกษาวิธีจากทรัพย์)

๕๙.มนุษย์ตะวันตกเข้าไม่ถึงจิตวิญญาณเป็นโลกแห่งวัตถุนิยม ลิมิตลู่เข้าหาความหายนะหรือไม่ต้องพิจารณา

๖๐.ทำไมพระพุทธเจ้าเป็นถึงบุตรกษัตริย์มีทั้งหมดแต่เดินออก แสดงว่าท่านทรงเห็นอะไร แต่เรากลับเดินเข้าหาสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงละ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๖๑.ทำกรรมเช่นใด ใจก็ปรุงแต่งนึกคิดเป็นนั้น ทำกรรมดี ใจสบาย (คนแก้ยิ้มแป้นเพราะไหว้พระสวดมนต์ใส่บาตรทำทานรักษาศีล ปัญญาก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ)

๖๒.เกิดดับ.....เกิดดับ.......ไหลเลื่อนย้อนเวลาไม่ได้ สิ่งต่างๆพัง หรือค่อยพัง(เสื่อม)

๖๓.โลกคือสุสาน

๖๔. .....ชีวิตนี้....โลกนี้........ไม่ควรมั่นหมาย......ปล่อยวาง..........ไม่ควรมั่นหมาย........ปล่อยวาง เมื่อภานาหรือท่องจะรู้สึกเบา สบาย หายเหนื่อย เหมือนได้พลัง เหตุเพราะไม่ต้องดิ้นรน ไม่ต้องแสวงหาและไม่ต้องแบก ชีวิตเป็นของเหลือน้อย ทำไปก็ไม่ได้ใช้ ถึงใช้ก็ใช้ไม่กี่ครั้งแถมมีภาระมีต้นทุน มีค่าใช้จ่าย ต้องดูแลรักษา จิตไม่อิสระ มันเป็นห่วง มันเป็นห่วง

๖๕.สิ่งที่เราได้มาวันนี้คือสิ่งที่จะต้องจากเราไปในวันข้างหน้า(ท่องหรือภาวนาเมื่อพลัดพรากหรือชำรุด ใจจะได้ยอมรับ ใจจะได้ไม่เจ็บหรือปรุงแต่งนึกคิดมากจนหน้าเศร้าหมอง)

๖๖.ไม่ควรติดหรือยินดีหรือพอใจในความสำเร็จหรือความสุข โดยเฉพาะความสำเร็จหรือสมหวังบ่อยๆหรือได้บ่อยๆ เพราะหากคราวใดไม่สมหวังคือจะต้องไป(เดินทางออกจากโลกใบนี้หรือตาย)จึงต้องคำนวณ เวลาชีวิตที่เหลือซึ่งมีกำลังแรงกับภารกิจที่ค้าง (ลูกยังไม่โต ผ่อนบ้านรถ) และเตรียมใจที่จะต้องแตกดับให้พอหรือลงตัว ไม่ยินพอใจในโลกทั้งสอง ใช้ชีวิตไปเหตุตามปัจจัยแล้วจะดีเอง

๖๗.ดิ้นรนหาทรัพย์แล้วบุตรเอาไปผลาญหรือผู้อื่นแย่งไป

๖๘.ดิน น้ำ ลม ไฟ และทายาทกับญาติมิตรเป็นภัยของมนุษย์

๖๘.ระลึกเรื่องตายจะได้คำตอบชีวิต ในการคำนวณอยู่กิน

๖๙.อย่าไปโกรธคนบางคนแต่ต้องเมตตาและสงสารเขา เขาไม่ได้มอง ถูกผิด ดีชั่ว บาปบุญ คุณโทษ นรกสรรค์      แอนด์นิพพาน เขามืดบอด ตกหน้าผาแน่นอน

๗๐.สังคมวัตถุนิยม เด็กๆจะไปรู้เรื่องอะไร หยุดความอยากก็ไม่ได้ วัฒนธรรมระบบคิดก็ถูกครอบงำ กรรม......

๗๑.มันเป็นกรรมของบางประเทศที่ขาดการบำรุงดูแล การให้สวัสดิการและส่งเสริมปลูกฝั่งกล่อมเกลาทางสติปัญญาโดยเฉพาะบางประเทศชนชั้นล่างมีหนี้สินมาก อยู่แบบรอวันตาย ไม่มีความหวัง ไม่มีความสุข กับทั้งความยุติธรรมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทุกสังคมต้องเกื้อกูลกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน ต้องไม่สะสมความไม่จริงและต้องไม่สะสมความเบียดเบียนเพื่อความปลอดภัยของมวลมนุษย์สัตว์ รวมตลอดถึง ดิน น้ำ ป่า อากาศ แร่ธาตุ พลังงาน

๗๒.ธรรมะเป็นที่พึ่งแห่งจิตวิญญาณ ดับเย็นให้แก่ใจดวงนี้ เหมาะกับผู้แพ้ ผู้ผิดหวัง ผู้ได้รับความเจ็บปวดทรมานผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือผู้ถูกสังคมรังแก ข่มแหง  เจ็บปวดทรมานมากๆธรรมจะได้เกิด จงอดทนมีสติและความเพียรปัญญาจะงอกขึ้นเอง

๗๓.คน สัตว์ สิ่งของ วัตถุธาตุใดๆ กำลังถูกไตรลักษณ์บดขยี้ เวลาผ่านไปเรื่อยๆ หายกันไปที่ละคน สองคน หรือหลายคน แล้วก็หายกันไปหมด 

๗๔.ชีวิตเหมือนระเบิดเวลา  ไม่ได้แถมมีภาระเวลาชีวิตใกล้หมด เมื่อไรจะจบ
หกสิบเตรียมกลับบ้าน

๗๕.เจ็ดสิบพร้อมตาย แปดสิบตายไปแล้ว เก้าสิบอยู่บริเวณ..........ห้าสิบไม่ควรขยายกิจการ แต่ให้ทบทวนปรับปรุง

๗๖.สรรพสิ่งทั้งปวงล้วนเป็นไอติมหรือไอศรีม(ไม่เที่ยงแปรเปลี่ยนสลาย แตกดับสูญไป)

๗๗.หากติดต่อกับคน และหรือมีเถียง มีโต้ มีแย้ง มีดื้อ ไม่เป็นไปตามสัมมา(กุศล) ให้ภาวนาว่า บัวๆ (บัวสี่เหล่า) หรือเช่นนั้นเองเพราะสติปัญญาๆ เพื่อตัดกระแสความเคืองหรือโกรธหรือความคิดที่ปรุงแต่งนั้น

๗๘.เราต้องอดทนและเข้าใจพัฒนาการสติปัญญามนุษย์แต่ละคน ถ้ามีศีลมีวินัยหรือเป็นอรหันต์ทุกคนก็ดีแต่นี้หาไม่ 

๗๙.มนุษย์มีเวลาน้อย มีอะไรต้องรักษา

๘๐.มีสิ่งใด ใจก็ทุกข์กับสิ่งนั้น ก่อนได้ก็ทุกข์ ได้มาแล้วก็ทุกข์ จากไปก็ทุกข์ กรรม

          ๘๑.เพื่อขับขี่รถปลอดภัย ให้ภาวนาหรือระลึกบ่อยๆว่า เลี้ยวชน เร็วตายๆ และหรือถอยชนๆ แซงตายๆอย่าให้ถึงๆ ในภาวะเลี้ยวรถ ขับเร็ว ถอยหลัง แล่นจะแซง ขับถอยหลังและปรารถนาจะให้ถึงที่หมายเร็วๆตามลำดับ ภาวนาเพื่อกำหนดรู้ หรือมีสติ หรือรู้ตัว ตรงนี้เป็นปัจจัตตัง(รู้ได้เฉพาะตนหรือรู้จากการปฏิบัติ)และที่ภาวนาว่า อย่าให้ถึงก็เพื่อตัดกระแสความอยาก (จิตดิ้นร้นหรือกระวนกระวาย)หรือกำหนดรู้อยู่กับปัจจุบันหรือดึงจิตกลับมา และรถติดให้ภาวนาว่า เช่นนั้นเองๆ ธรรมดาๆพิจารณาตามความจริงเพื่อให้จิตยอมรับตามความเป็นจริงหรือตามเหตุตามปัจจัยที่เกิดขึ้นแห่งผลนั้นๆ   
                      
          ๘๒.ตื่นมาวันนี้ไม่ตาย พรุ่งนี้อาจตาย ถ้าไม่ตาย วันหน้าตายแน่ ชีวิตเหมือนระเบิดเวลาโดยเฉพาะขับรถ ทำงานกับเครื่องจักร เครื่องกล ที่สูง ที่ไม่ปลอดภัย ระวังนะ

๘๓.เราต้องอดทนและเข้าใจพัฒนาการสติปัญญามนุษย์แต่ละคน ถ้ามีศีลมีวินัยหรือเป็นอรหันต์ทุกคนก็ดีแต่นี่หาไม่ เราต้องอดทน มีสติ และความเพียรในการอยู่ในสังคม เดี๋ยวมันดีเอง

๘๔.อีกไม่นานก็ตายกันแล้ว ไม่มีใครได้อะไร ระหว่างที่มีและเป็นก็ทุกข์เนื่องจากแสวงหา ดิ้นรน แบก

๘๕.มันเป็นกรรม สัตว์โลกย่อมเบียดเบียนกัน ธรรมดา โลกคือหมู่สัตว์ที่เวียนเกิดเวียนตายเป็นอนันต์หรือสี่อสงไขยแสนกัป ต้องอดทนและมีสติ คิดเสียว่า มันเป็นกรรมของสัตว์เป็นคราวเคราะห์ของเรา คิดไปก็คับแค้นใจเสียพลังงาน

๘๖.จิตไม่วาง(ใจนึกคิดปรุงแต่ง) ใจไม่ว่าง จิตไม่ว่าง ใจไม่อิสระ ควรทำกรรมหรือสร้างเหตุดีๆ และไม่ก่อเวร อนึ่ง อย่ามีวัตถุธาตุ(รถ บ้าน เมีย ลูก กิจการ) มากหรือเกินกำลังเพราะมีต้นทุน มีค่าใช้จ่าย และต้องดูแลรักษา กับทั้งเวลาชีวิตใกล้จะหมดกับทั้งโรคที่มีอยู่และลูกที่ยังไม่โต มีสิ่งใดก็ทุกข์กับสิ่งนั้น

๘๗.ใจไม่หยุด จะสิ้นสุดได้อย่างไร จิตจะบริสุทธิ์ด้วยปัญญา (ปัญญาชำระกิเลส) สำคัญสุดให้ฝึกสติ(รู้ตัวทั่วพร้อม) แรกเริ่มฝึกดูกายรู้ตัวทุกการขยับและการออกแรง อาทิ กินข้าวให้งาบ งาบ งับ(เศษอาหารจะไม่ติดฟัน อายุมากฟันเริ่มห่าง) หรือหาที่อยู่จิต เช่น ทำการงานใดๆ สวดมนต์ จิตจะไม่ส่งออกหรือฟุ้งซ่านและหรือถึงออกเดี๋ยวก็กลับมา) ดูกายเพื่อให้เห็นจิตหรือกระแสความคิดหรืออารมณ์(ฝึกสมาธิก็เพื่อผลผลิตซึ่ง สติ)หรือรู้เท่ารู้ทันในอารมณ์ที่เกิด เช่น หงุดหงิด คับแค้น อยาก แต่ถึงแม้เห็นจิตหรือดูจิตหรือมีสติแล้วก็ยังดับทุกข์ไม่ได้เพราะต้องเจริญปัญญาฝึกพิจารณาต่อไป

๘๘.เราต้องแก้ไขปัญหากันไป ความสุขต้องมีทุกวัน วันไหนไม่มีความสุข(เช่น หงุดหงิด ขุ่น เคือง วิตก คับแค้นใจ) วันนั้นขาดทุนทางจิตวิญญาณ เราไม่ควรจะขาดทุนอีกแล้ว เพราะเรามีเวลาชีวิตเหลือน้อย สิ่งต่างๆมันไม่เที่ยง ควบคุมไม่ได้ เดี๋ยวก็ผ่านพ้นไป

๘๙.กรรมบางอย่างอาจรอดพ้นวิบากครั้งนี้ แต่บางคนก็โดนเหมือนเรา ถูกผิดเป็นมายากล เหตุผลของคนอ้างได้แม้แต่จะฆ่า ทำสงคราม ปฏิวัติ หรือหย่า ไม่ต้องตกใจเพราะอีกหน่อยก็ตายแล้ว ยิ่งอายุมากๆ สบาย สบาย

          ๙๐.มีสิ่งใดก็ทุกข์กับสิ่งนั้น มีตา มีหู มีจมูก มีปาก มีฟัน มีอวัยวะน้อยใหญ่ก็ต้องดูแลรักษา พักหนึ่งก็เกิดโรคหรือเป็นรังของโรคโดยสภาพ ปวดหัว ปวดฟัน คันหู คันตา เบาหวาน ไขมัน ความดัน ปอดไตเสื่อม มีรถมีบ้านมีเมียมีลูกมีงานและกิจการอื่นๆ แค่ผ่อนรถส่งบ้านก็แย่แล้ว หากมีซ่อมเปลี่ยนถ่ายจอดทิ้งแบตเตอรี่เสื่อมซีลรั่วปวดหัวอีก ไหนลูกขอ เมียป่วย แม่เจ็บ นายบ่น งานค้าง ลูกน้องหลอก เรื่องเก่าก็ยังคับแค้นใจก็ยังไม่ดับ  จะเห็นได้ว่า เราอยู่กับทุกข์แต่มองไม่เห็นทุกข์เพราะเรามองไม่เห็นจิตหรือใจของเรา จิตเราหรือใจเราตั้งไม่ได้หรือไม่สามารถอยู่กับปัจจุบันได้ นึกคิดหลายเรื่องทั้งอดีตและอนาคต

          ๙๑.อีกไม่ช้าก็ตายกันแล้ว ไม่ต้องเหนื่อยกับการแสวงหา ดิ้นร้น แบก ประชัน ไม่ชอบหรือ

          ๙๒.เมื่อระลึกถึงความตายใจจะคลายได้มาก ความอยาก ความดิ้นรนก็น้อยลง ความโกรธ ความไม่พอใจความคับแค้นใจก็น้อยลง ความพอใจยินดีก็น้อยลง สภาวะความหลง ความเมา ความไม่รู้ก็เริ่มเห็นชัดขึ้นๆ ความเหน็ดเหนื่อยกาย ทุกข์ใจก็น้อยลง ทั้งนี้ต้องระลึกหรือกำหนดรู้บ่อยๆจนเป็นอารมณ์(มรณะสติ)

          ๙๓.หากถูกสังคมสอนมวยหนักๆ จะเข้าใจอะไรได้เร็วแต่ทั้งนี้ต้องเป็นผู้สังเกตพิจารณา

          ๙๔.เงินเป็นเพียงใบไม้แห้ง สิ่งของมีจำนวนอนันต์ชิ้น เพชรเป็นเพียงธาตุชั่วขณะหนึ่งในจักรวาล มนุษย์สัตว์ดังฝุ่น ผงละอองแก๊ส อีกหน่อยตัวเราจะกลายเป็นหนอนเป็นดิน เป็นธุลีดิน

           ๙๕.เกิดมาเพื่อหาวัตถุธาตุจิตวิญญาณถูกทำลาย วันหนึ่งๆ เราคิดกี่เรื่อง หยุดคิดได้ไหม

           ๙๖.ช่วงเวลาชีวิตที่เราอยู่ ณ ปัจจุบันเป็นเพียงจุดหนึ่งบนเส้นทางที่ยาวไกลเป็นอนันต์เป็นอสงไขย(เวลาที่นับไม่ได้)ในทิศทางลบและบวกหรืออดีตที่ย้อนเป็นเด็กไม่ได้และต้องดับกาลหน้าในไม่ช้า(อยู่กันคนละแวบ หรือเวียนเกิดเวียนตายไม่รู้จบ ตรงนี้เห็นอะไร เห็นวัฏฏสงสาร ไม่เห็นอะไรเลย เพราะสมมติทั้งชื่อทั้งรูปร่าง รูปังอนัตตา(รูปไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ตัว ตน เรา เขา เป็นเพียงธรรม) จะไปไหน ทำอะไรอยู่ เหนื่อยหรือทุกข์ไหม จะหมดทุกข์ตอนไหน จะออกทางใด ตรงนี้ศาสนาพุทธมีคำตอบ (ไตรลักษณ์ มรรคแปด หรือละชั่ว ทำดี จิตบริสุทธิ์ หรือละอกุศล เจริญกุศล บ่มปัญญา หรือปัญญาชำระกิเลสน้อยใหญ่ ถ้าไม่มาก็ทุกข์ต่อไป เวียนเกิดเวียนตายต่อไปเรื่อยๆ แต่ถึงอย่างไรเดี๋ยวก็ขึ้นมาเองหรือจะสวิงขึ้นมาเอง ทุกคนได้เป็นอรหันต์หมดแต่ไม่รู้ว่ากี่ภพกี่อนันต์อนันต์ชาติ วนไปเรื่อยๆไม่รู้จบรู้สิ้น)

           ๙๗.ข้อปฏิบัติ หรือควรปฏิบัติ เมื่อเห็นหญิงสวยให้เพ่งผ่านทะลุผิวหนังและแป้งหรือลิปสติกและหรือท่องหรือภาวนาว่า เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก พังผืด หรือทุบหัวเพื่อให้เห็นอสุภะความไม่งามเพื่อมิต้องเสียแรงกายและโทษภัยครอบครัวแตกแยกและหรือต้องเลี้ยงดูหญิงนั้นเป็นภาระมีค่าใช้จ่ายมีต้นทุน หากติดหรือตกลูก ยาวแน่ ชิวิตไม่จบ ตายไม่ได้ แต่ก็ต้องตาย(เวลาชีวิตใกล้หมดแล้ว)ซึ่งการระลึกถึงเช่นนั้นก็เพื่อที่จะตัดหรือเบรคหรือเปลี่ยนกระแสความคิดเพื่อมิให้เกิดการกระทำหรือผลแห่งการกระทำเช่นว่านั้น อันเป็นการคลายกำหนัด(กำหนัดรีบกำหนด หรือกำหนดรู้หรือมีสติ) 

            ๙๘.เป็นกฎธรรมชาติสิ่งต่างๆจะสมบูรณ์ไม่ได้(ไม่เที่ยง) ไม่ว่าจะเป็นตัวระบบสิ่งที่ประกอบกับหรือติดกับตัวระบบที่สำคัญคนกับวัฒนธรรมความรับผิดชอบและกระบวนการยอมรับความเปลี่ยนแปลงถ้าเข้าใจก็ ธรรมดา เช่นนั้นเอง (ทุกสิ่ง ทุกคน ทุกที่ ทั้งหมดมีปัญหาทั้งนั้น ถึงแก้ได้ก็มีปัญหาอีก กรรม)

๙๙.ยิ่งเจ็บทรมานมากๆจิตจะเริ่มละ เริ่มวาง เริ่มเห็นชัดขึ้นเรื่อยๆจนไม่ถือหรือยึด ปัญญาเริ่มเกิด ถ้าสุขหรือมันอยู่เห็นหรือเกิดได้ยาก
 
๑๐๐.ถ้ามองเห็นเริ่มแต่ข้าวปลูกถึงข้าวบูดก็จะเกิดปัญหาน้อยลง ความผิดพลาดความเสียหายความสูญเสีย ความพลัดพรากก่อให้เกิดปัญญาเร็วขึ้นเพราะจิตถูกกระทบตรงๆ

๑๐๑.มนุษย์ดีก็สุดๆ เป็นอรหันต์ เลวก็สุดๆเป็นสัตว์นรก จระเข้หนีขึ้นบกก็พ้น เสือหนีเข้าเมืองก็พ้น แต่ถ้าคนล่าข้ามทวีป และถ้าเอาก็ทั้งหมด แต่ไม่ได้ใช้ ทำให้ใครและเวรกรรมที่ก่อมาทำอย่างไร(ยิ่งแสวงหามากก็ทำลายจิตวิญญาณมากเท่านั้น) เราต้องอยู่แบบพอดีๆตามเหตุตามปัจจัย ภาระเสร็จสิ้น ลูกโตแล้ว ละหรือวางได้ก็รีบออกมา อย่าสร้างกรรมอีก อาทิ ลงทุนหรือประกอบการใดๆ มิฉะนั้น เกมส์ไม่จบเพราะเวลาใกล้หมดและต้องมาแตกดับ ทำการใดให้คำนวณเวลาชีวิต อายุมากๆ ไม่ควรประกอบการหรือเป็นเจ้าของกิจการหรือวัตถุธาตุใดๆ เพราะจะมีปัญหาเวลาไป(ตาย)

๑๐๒.เมื่อแลเห็นธรรมบางแล้ว ไม่ควรมั่นหมายหรือยึดถือสิ่งใดๆมาก อยู่กันไปเรื่อยๆ เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเหมือนฟองน้ำ

๑๐๓.หลังความตายหนึ่งปีมีกี่คนคิดและพูดถึงเรา และปีถัดไปๆ ไปจนนานเป็นสิบๆ ร้อยๆ พันๆ แสนๆปี หรือเป็นเวลาอนันต์ หรือสี่อสงไขยแสนกัป เราอยู่กันคนละแวบ สรรพสิ่งทั้งปวง(คน สัตว์ สิ่งของ วัตถุธาตุ เมือง หรืออาณาจักร) เป็นไอติมหรือไอศรีม(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ทุกๆชีวิตควรอยู่กันอย่างมีความสุข บางชีวิต เวลาชีวิตเหลือน้อย หรืออยู่แบบไม่มันเพราะอวัยวะบางส่วนเสื่อม(รูปังอนิจจัง)ควรจะมีความสุขทุกวัน วันไหนไม่มีความสุข วันนั้นขาดทุนทางจิตวิญญาณ

๑๐๔.เราเกิดมาเพื่อใช้ชีวิตเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตให้มากที่สุด แล้วก็วางมันทุกๆอย่าง มนุษย์สัตว์อยู่บนเส้นทางอนันต์ย้อนเวลาไม่ได้ไหลไปสู่ความแตกดับเสื่อมแก่เก่าไม่สวย ชำรุด พัง ไม่มีใครได้อะไร ระหว่างที่มีและเป็นเหนื่อยไหม

๑๐๕.ความอยาก ความรัก ห้ามหรือละหรือวางหรือชำระได้หากมีปัญญา ปัญญาชำระกิเลสตามนัยศีลสมาธิปัญญา เห็นโทษภัย ความน่ากลัว เบื่อและหาทางละ รู้จริงวางแน่นอน รู้ไม่จริงยังไงก็เอา ทั้งนี้หาใช่ว่าใจจะบังคับได้ไม่

            ๑๐๖.อำนาจเต็มไม่ หรืออยู่ไม่นาน(ไม่เที่ยงแตกดับ) สิ่งต่างๆไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยอิสระต้องมีเหตุมีปัจจัยประกอบหรืออาศัยหรือเกื้อกูลหรืออาศัยกันเกิด ต้องอดทนกับวิวัฒนาการ จะให้คนมีศีล มีปัญญาเลยเป็นเรื่องโจ๊ก หรือมหาโจ๊ก ค่อยๆศึกษาและปฎิบัติไป สะสมไปเดี๋ยวก็ปฏิเวธเอง บ่มอินทรีย์ไปเรื่อยๆ

๑๐๗.ทำกรรมใด(คิดพูดทำ) จิตก็นึกคิดปรุงแต่งเช่นนั้น  ทำกรรมไม่ดี เช่น มีงานค้าง ก่อเวร ทำผิดวิธี นัดหมายมากจิตก็วิตก ไม่รู้ ไม่เข้าใจหรือสงสัยก็ทุกข์ คิดนานก็ทุกข์ คนพูดไม่ดี ปฏิบัติต่อเราไม่ดีก็ทุกข์ เย็น ร้อน อ่อน แข็งก็ทุกข์มีมากก็ทุกข์ต้องดูแลรักษามีต้นทุนมีค่าใช้จ่ายจิตไม่อิสระ เข้าประชันในสังคมได้ต้นทุนด้อยกว่าเขาก็ทุกข์ดีกว่าเขาหมั่นไสก็ทุกข์ มันเป็นกรรมจริงๆ

๑๐๘.มันเป็นกรรมของสัตว์ เป็นคราวเคราะห์ของเรา

๑๐๙.การมีอำนาจทำให้ลืมเวลาชีวิตที่กำลังจะหมดเพราะเพลิน เมื่อตายทรมานมากกับสิ่งที่มีและเป็น อยากจะขนไปด้วย

๑๑๐.หาคนเป็นใหญ่ให้เน้นคุณธรรม แก้กำหนดหรือออกแบบภายนอกพัง เจ๋งแน่นอน

๑๑๑.เมื่อเห็นหญิงสวยให้เพ่งมองผ่านทะลุแป้งและผิวหนัง และหรือภาวนาในใจว่า เนื้อหนังเอ็นกระดูกพังผืด ตกขาวๆ (กำหนัดรีบกำหนดหรือมีสติ)เพื่อคลาย

๑๑๒.รักกาย รักษาจิตให้ดี เราอยู่กับความเปลี่ยนแปลง(ไม่เที่ยง)ไหลไปสู่ความแตกดับ เรามารวมตัวกันแวบหนึ่งแล้วก็แยกย้ายกันไป ไม่ควรยึดถืออะไรมาก มีหรือเป็นอะไรก็เกิดภาระกับสิ่งนั้น

๑๑๓.มนุษย์จะทุกข์กับความคิด ทำกรรมดีใจสบายๆ วัตถุเป็นเพียงสิ่งบำบัดกายแต่ดับทุกข์ไม่ได้ หากไม่มีปัญญาให้คิดพูดทำดีๆ ก็ปลอดภัยแล้วเพราะไม่ได้ก่อเวรกับผู้ใด

๑๑๔.อยู่กันคนละแวบ ย้อนเวลาไม่ได้ บนความเปลี่ยนแปลง เวลาอนันต์ ธรรมดา เหตุปัจจะโย

๑๑๕.ทุกอย่างต้องให้เป็นไปตามวิวัฒนาการของสังคมแต่ละประเทศ มันมีเหตุปัจจะโยหลายอย่าง อาทิ ระบบวัฒนธรรม สติปัญญาทั้งมีศีลและไม่มีศีล(มนุษย์ต้องเบียดเบียนกันเพราะแรงปรารถนาและความเมาอยู่ในภพ ลืมตาย)ต้องอดทน มันเป็นเช่นนั้นเอง ธรรมดา อยู่กันไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ตายกันแล้ว บางคนอายุมากแล้ว เวลาชีวิตเหลือน้อยเต็มที่แล้ว บางคนมีโรค บางคนมีภาระยังจัดการไม่เสร็จ จะทำไง กรรม

๑๑๖.เกิดมาเพื่อใช้ชีวิตเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตให้มากสุด แล้วก็วางมันทุกๆอย่าง  เราควรเริ่มวางหรือศึกษาวิธีวาง แต่หาใช่ว่าจะวางได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเวลาชีวิตที่เหลือน้อยเต็มที่ ติดโลก หลงโลกย่อมเหนื่อยธรรมดา....สู้.........อดทนเพียรสติ(ภพมนุษย์ยังไงก็ทุกข์ ถึงสุขเดี๋ยวก็เจ็บ)

๑๑๗.คิดต่อต้าน ไม่พอใจ จิตเหนื่อย ยอมหรือปฏิบัติตามหรือหมอบจิตจะเบา กรรม....

๑๑๘.โลกใบนี้เป็นเพียงศาลาที่พักริมทางของเส้นทางที่เราจะเดินต่อ(เกิดใหม่)เราต่างก็ไม่รู้ว่ามาจากไหน และจะไปก็ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน รู้แต่ปัจจุบันว่า ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ก่อเวร ไม่จองเวร ไม่มั่นหมาย อยู่แบบแมงกะพรุน ลอยไหลไปตามเหตุ มีบ้านก็พอหลบแดดฝน เมื่อตายได้ ๗ วัน เสาต้นแรกก็ล้ม พอคืนที่ ๑๐ เสาทั้งสี่ต้นก็ล้มพับรวมกัน ๑ ปี ผ่านไป ปลวกกินเกือบหายหมด(หมื่นแสนโกฏิจักรวาล โลกมีหลายใบ นับไม่ถ้วน รูปังอนิจจัง รูปังอนัตตา)




๑๑๙.แนวทางดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุราชการมีแนวทางหนึ่งคือ ให้เตรียมตัวตายและรักษาร่างขั้นสูงสุด(เน้นขั้นสูงสุด) เมื่ออายุเข้าเจ็ดสิบให้พร้อมตายทุกขณะเนื่องจากสภาพแห่งสังขารเสื่อม กระทบสัมผัสกับสิ่งใดไม่สุขกินน้อย หาได้มาก็ให้ผู้อื่น เวลาชีวิตเหลือน้อย หากทำงานต่อได้ผลดี จะติดยึดในสุข เมื่อตายมีปัญหามาก อาลัยกับทรัพย์ที่หามาทำให้เมาจมอยู่กับภพเมื่อตายลงไม่สวยดังพระภิกษุสมัยพระพุทธเจ้าที่เกิดเป็นเลนเกาะอยู่ที่จีวรเนื่องจากอาลัยในทรัพย์ หากทำงานไม่ได้ผลหรือขาดทุนมีภาระค้างสภาพจิตเศร้าหมองเมื่อตายจะไปสู่ทุคติ(เกิดใหม่ไม่สวย)ที่ว่า ให้เตรียมตัวตาย หมายถึง มองดับ ไม่สร้าง ไม่ขยาย ไม่ลงทุน พยุง ประคอง ลดขนาดลงเรื่อยๆ พร้อมถอนกำลัง ไม่ติดใจในสุขทุกข์ ใช้ชีวิตแบบง่ายๆ ไปตามเหตุตามปัจจัย ปลอดภาระใด ความห่วงใดๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน ถ้าจะเดินออกให้เดินออกทันทีไปตามธรรม ชีวิตจบ ต้องยอมจบ อนึ่ง ผู้น้อยต้องเคารพและให้บริการทุกอย่างแก่ผู้สูงวัยเนื่องจากมีชีวิตอยู่ไม่นาน เมื่อจากไป ไม่พบกันอีกชั่วนิรันดรกาล เรามารวมตัวกันในอาณาจักรแวบหนึ่งแล้วก็ต้องมาแยกย้ายจากกันไปตามกฎกรรมที่ทำมา

๑๒๐.สมาธิมีฤทธิ์จริง แต่พระพระพุทธเจ้าไม่ให้แวะ(ติด จม) ให้เดินไปตามมรรคแปดแล้วจิตเข้าสู่ไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) มีเพียงขณิกสมาธิ(สมาธิชั่วขณะ)ก็พอ ทุกวันนี้พระธรรมถูกบดมากบังเนื่องจากชาวพุทธเน้นไปที่วัตถุมงคล พิธีกรรม และทาน ทุกคนไม่ว่าดีหรือไม่ดีมาก่อน หากโน้มเข้าหาหรือระลึกนานๆ เห็นธรรมได้ ธรรมอยู่ที่การปฏิบัติพิจารณา(ฟังธรรมเสริมปัญญา มีศีลปิดอบายภูมิ มีธรรมมีปัญญาชำระกิเลสดับทุกข์ใจได้) ไม่มีทางใดที่จะดับทุกข์ได้ เว้นแต่มรรคแปด(ทางสายเอก)สิ่งอื่นเป็นเพียงบำบัดชั่วคราว ไม่ถาวร ต้นทุนมนุษย์คือสติปัญญาต้องมั่นฝึกฝนกันไปเรื่อยๆ สะสมไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเกิดผลเอง อาจจะหลายภพชาติหน่อยก็ไม่เป็นไร

๑๒๑.สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมีเหตุมีปัจจัย(เหตุปัจจะโย) ไล่เหตุไปหาผล ตีวง จินตนาการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วแก้ปัญหาที่ว่านั้น

๑๒๒.เราเป็นใบไม้ที่ถูกสลัดใบเมื่อใดก็ไม่รู้ แต่เราเข้าใจว่า ต้นไม้เป็นเรา เราอาศัยอยู่บนแผ่นดิน แต่เข้าใจว่าแผ่นดินเป็นของเรา ทั้งที่เราต่างก็โคจรมาพบกันและอยู่ร่วมกันชั่วขณะ แล้วก็แยกย้ายสลายหายกันไป พิจารณาได้ดังนี้เราจะไม่มีอะไร เพราะไม่ได้อะไรไป ใช้ชีวิตไปตามเหตุ ไม่ควรมั่นหมาย มนุษย์มีเวลาน้อย

๑๒๓.กินข้าวเศษอาหารติดฟันแก้โดยงาบๆ งับ กล่าวคือ โดยปกติเมื่ออาหารเข้าปากจะงับทันทีโดยไม่รู้ตัว(ไม่ได้กำหนดรู้,เผลอสติ) ทำให้ติดฟัน แต่ถ้างาบก่อนคือหยั่งหรือบีบหรืออาการครึ่งงับอย่างช้าๆจะทำให้เกิดรู้สึกตัวขึ้นมา(สติ) เมื่อเศษอาหารจะติดฟันก็ถอนออกลำเลียงอาหารในปากคำใหม่เพื่อมิให้ติดฟัน(ประโยชน์เบื้องต้นของสติ อาบดื่มเคี้ยวกิน)

๑๒๔.แนววิธีหนึ่งเพื่อฝึกสติได้ทุกอิริยาบถ การทำสติให้เกิด(กำหนดรู้,ร้ตัว)พึงระลึกบ่อยๆว่า สติชอบช้า ตัณหา(ปรารถนาคือทุกข์)ชอบเร็ว เช่น แปรงฟัน ถูสบู่ ล้างถูมือ ขัดรองเท้า เช็ดถูขัด เราจะออกแรงกดเพิ่มความเร็วรอบ(ความถี่)โดยไม่รู้ตัวทำให้เมื่อยมือและเหนื่อยใจเพราะจิตปรารถนาซึ่งคือตัณหาจะเกิดขึ้นทุกขณะเพียงแต่ใจเราตรวจจับยังไม่ได้ จึงต้องฝึกสติเพื่อเห็นจิต กรณีดังกล่าวมีลักษณะการทำงานซ้ำแนวเดิมเพื่อให้จิตเกาะเกี่ยวกับสิ่งที่ทำหรือสัมผัสกระทำโดยท่องถ้อยคำใดๆหรือนับหนี่งถึงสิบหรือนะโม พุทธายะ หรือ เพ่ง หรือทำความรู้สึกตรงๆ เมื่อเริ่มรู้ตัวดีขึ้นก็จะควบคุมกำลังแรง(หนักเบาความถี่)ได้ หรือทำการใดๆ ให้ท่องว่า อย่าให้เสร็จๆ หรือให้ทำเป็นจังหวะสัมพันธ์กับลมหายใจเข้าออก ยกมือลมเข้า มือลงลมออก หรือเอียงหัวตัวกายยก จะสัมผัสได้รู้ว่า มีลมเข้าออกจมูกตลอดแต่จิตไม่อยู่กับตัวหรือปัจจุบันจึงสัมผัสรู้(สติ)ไม่ได้(จัดกายเพื่อเห็นจิต จิตเราตั้งไม่ได้ หากมีอกุศลอันต้องมีศีลเป็นพื้นฐาน สติเป็นธรรมเอก ปฏิบัติธรรมก็เพื่อสติ ทำสมาธิก็เพื่อให้เกิดสติ เมื่อมีสติสมาธิจะมีขึ้นเองโดยปริยาย แต่ถ้าไม่มีศีลอย่าหวังว่าจะทำสมาธิหรือมีสติได้ แต่อาจมีแบบแวบๆ หรือมีแบบมิจฉาสมาธิหรือมิจฉาสติ

๑๒๕.แจ้งธรรม บอก สอนธรรมชื่อว่าให้สิ่งที่ไม่ตายให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง
ให้ผ้านุ่งห่มชื่อว่าให้กำลัง ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสะดวก ให้ดวงประทีปชื่อว่าให้ดวงตา ให้ที่อาศัยชื่อว่าให้ทั้งหมด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพานให้แหล่งน้ำ บ่อน้ำ และที่พักอาศัย บุญผู้นั้นเพิ่มพูนทุกเมื่อทั้งคืนทั้งวัน

๑๒๖.ชีวิตใช้ไปก็สิ้นไปหมดไป ดับไป หายไป ไม่มีอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏเป็นเพียงสมมุติบัญญัติเพราะทุกอย่างเป็นทุกขัง(ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ แตกดับ)เป็นเพียงปรากฏการณ์ตามธรรมชาติเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปชั่วขณะหนึ่งๆ บนผิวโลก ชีวิตนี้ไม่ควรมั่นหมาย อยู่ไปเรื่อยๆ ......เราจะไม่คับแค้นเคืองโกรธพยาบาทใดๆแล้ว เวลาชีวิตเหลือน้อย บางคนเหลือเท่าปลายหัวไม้ขีด พร้อมดับ หรือจุดไฟได้ทุกเมื่อ

๑๒๗.เกิดมาแล้วก็ต้องตาย...เกิดมาทำไม...เมื่อระลึกถึงความตายบ่อยๆ.......เสมอๆ............จะทำให้รู้สึกเบา..หายเหนื่อย หากโศก หายคับแค้นใจ ตัดกระแสปรารถนา โกรธ หายเมาหายหลง เป็นยาขนานเอกดับทุกข์ใจได้ทุกเรื่อง (......อานนท์  เธอระลึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง........ประมาทอยู่..........ทุกลมหายใจเข้าออก............).........พิสูจน์ ลองทำจะสัมผัสได้)

๑๒๘.เมื่อทำงานใดๆ ให้ท่องหรือภาวนาว่า อย่าให้เสร็จๆ เพื่อดึงจิตหรือใจกลับมาเกาะเกี่ยวกับสิ่งที่ทำหรือสัมผัสนั้น ใจจะหายเหนื่อย  (ลองทำ...จะสัมผัสได้......สติ.....)

๑๒๙.ทำกรรมดีจิตเป็นกุศลใจเบาเป็นสุข ทำกรรมไม่ดีจิตเป็นอกุศลใจหนักเป็นทุกข์ เช่นหงุดหงิด คับแค้น ไม่พอใจ หากเกิดแก่จิตเอาธรรมมาเป็นปัญญาชำระออก เวลาชีวิตเหลือน้อย ไม่ควรทุกข์ใจ

                                 โดย  พ.ต.ท.สุรเดช  ผะอบทิพย์
                                                                                     ตุลาคม ๒๕๕๗

บทความที่ได้รับความนิยม