วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สมาธิเคลื่อนที่ ปัญญา ๒




                           

เมื่อท่านใดฝึกสมาธิเคลื่อนที่จะรู้ได้เองว่า มีการกำหนดรู้โดยใช้กรรมฐานหลายกองหรือหาที่อยู่ให้จิตหลายลักษณะเป็นต้นว่าลมหายใจเข้าและออก(อานาปานสติหรือรู้สึกตัวกับการไหลของลมลมออก)ขณะที่ทำงานหรือทำการใดๆ เป็นจังหวะ,การท่องถ้อยคำหรือบริกรรมเพื่อเป็นทุ่นล่อให้จิตมาเกาะ เช่นท่องคำว่า  พุทโธ นะโมพุทธายะ หนึ่ง สอง สาม สี่,เพ่งหรือมองหรือจ้องเพื่อรวมจิต,ระลึกตรงๆหรือทำความรู้สึกตรงๆกับสิ่งที่สัมผัส,ระลึกหรือนึกหรือคิดแต่สิ่งที่เป็นกุศลหรือธรรม และเมื่อท่านใดเฝ้าสังเกตมีการตรวจจับดูจิตของตนหรือสังเกตความคิดหรือการปรุงแต่งของจิตแล้ว จะรู้ว่าความคิดหรือการปรุงแต่งของจิตนั้น เกิดจากกรรมหรือการประกอบกรรมหรือการคิด พูด ทำที่เกิดขึ้นแต่ละขณะๆ ที่ผ่านมาแล้ว ฉะนั้น หากผู้ใดทำกรรมดีจิตย่อมคิดนึกแต่สิ่งที่ดีเป็นสุข ใจสบาย ตรงนี้เป็นเพียงความสงบไม่ใช่ปัญญา แนวปฏิบัติให้คิดนึก(ขณะคิดนึกให้รู้ตัวหรือกำหนดรู้)แต่สิ่งที่เป็นกุศล พูดหรือทำโดยไม่เบียดเบียน(ศีล,ทาน,เมตตา หรือการใดๆตามชุดมรรค ๘) เมื่อฝึกบ่อยๆ จะมีการระวังมิให้อกุศลเกิดขึ้นแต่จิต เช่น เมื่อขับรถต่อท้ายรถคันหน้าที่แล่นช้าหรือรอคอย หรือมีคำพูดที่ไม่พอใจกระทบเข้ามา ต้องกำหนดจิตไว้ก่อนว่า จะไม่เคืองหรือไม่พอใจหรือไม่โกรธ ต้องรักษาสภาพแห่งจิตหรืออาการแห่งใจ ไม่ให้ใจหรือจิตหวั่นไหวหรือกระเพื่อม ส่วนแนวคิดการเจริญปัญญา  เพื่อหลุด หรือชำระกิเลสนั้น ให้ระลึกหรือนึก  และต้องทำบ่อยๆ  หรือเสมอๆ   หรือโดยตลอดเกี่ยวกับไตรลักษณ์ คือความไม่เที่ยง  แปรปรวน  เปลี่ยนแปลงแตกดับ สลายหายสิ้นไปซึ่งวัตถุธาตุใดๆ ทั้งหมด(ทั้งรูปและนาม)ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ ภูเขา ประเทศ   อาณาจักรวัฒนธรรม  ประเพณี  ระบบความเชื่อ ความคิด    ความนึกคิดปรุงแต่งของจิต อาจกล่าวได้ว่า ไตรลักษณ์ก็คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุธาตุกับเวลา โดยเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ๑๐ ปี ๒๐ปี ๑๐๐ ปี พันปี แสนปี ล้านปี .........อินฟินิตี้หรืออสงไขย หรือสี่อสงไขยแสนกัปป์  ไม่เหลืออะไรเลย   ระหว่างที่อยู่ก็เวียนวนไปมา   ไปเรื่อยๆ   ไม่รู้จบ   ทั้งหมดในโลก   นอกโลก จักรวาล อวกาศ  สรรพสิ่งทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัย (เหตุปัจจะโย)  เป็นไปตามวิวัฒนาการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป   และไม่สามารถย้อนเวลาได้  อดีตไม่มี      (เหตุที่เข้าใจว่ามีอดีตเนื่องจากมีสัญญาความจำได้ หมายรู้และสังขารเนื่องจากการปรุงแต่งของจิต มีเพียงแต่ปัจจุบันที่เกิดขึ้นทุกขณะๆ      สืบต่อเนื่องกันไป  เมื่อรู้ความจริงเป็นเช่นใด สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่  จะธรรมดา       ธรรมดา เพราะเป็นไปตามพระไตรลักษณ์  มีอายุขัย แตกดับ    สิ่งที่เรารับรู้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นภูเขา  มนุษย์ สัตว์  อารยธรรม   ความรู้ทางโลก    กติกาชุมชน เป็นเพียงสมมติ  ความเป็นตัวตนจะมีหรือมีเพียงชั่วขณะๆ  แล้วก็เปลี่ยนแปลงเป็นมายา    หรือเป็นเพียงสภาพธรรม  หรือธรรมชาติ  แนวปฏิบัติการเจริญปัญญาคือ ให้พิจารณามองเห็นสิ่งที่มี  ที่เป็นว่า      มีโทษมีประโยชน์เพียงใด โดยเฉพาะโทษภัยของการมี    การเป็น  เช่น    มีสิ่งใดก็ทุกข์กับสิ่งนั้น   เห็นความเปลี่ยนแปลง   ฝุ่นเกาะ   ซีด    เก่า ชำรุด ป่วย  เจ็บ หัก  พัง  เสียหาย  แตกดับ  อายุขัย      เวลาอนันต์    หรือเวลาอสงไขย      และกรณีหญิงสวยให้มองผ่านทะลุแป้ง   ชั้นผิวหนัง   ให้เห็นอวัยวะน้อยใหญ่          ตกขาวหรือท่องในใจว่า  เนื้อหนัง  เอ็น  กระดูก  พังผืด  ตกขาว หรือทุบศีรษะเพื่อเห็นอสุภะ  เมือก  เยื่อในกระโหลก       มันสมองแตกกระจายในอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชน  หรือ ผม   ขน  เล็บ   ฟัน หนัง พังผืด ตกขาวๆ การพิจารณา  หรือการโยนิโสมนสิการเพื่อมิให้ยึดมั่น  ถือมั่นกับสิ่งใดๆ         แม้กระทั้งร่างกายของเราเอง  มองเห็นความเปลี่ยนแปรสลายหายไป    หรือเห็นแจ้งตามความเป็นจริง  หรือมิให้เมา หรือหลง    หรือติดอยู่กับภพที่เป็นอยู่นี้ ที่เราอยู่ ณ ปัจจุบัน    เป็นเพียงจุดหนึ่งบนเส้นทางที่ยาวไกลเป็นอนันต์  เป็นอสงไขย   หรือพวกเรามารวมตัวกันในอาณาจักรหรือชุมชนนี้เพียงแวบหนึ่ง    แล้วก็สลายหายไป รู้แบบนี้ยังโกรธ ยังอยากมีอยากเป็นอีกหรือ เวลาหมด ทรัพย์ก็หมด มีมากต้องรักษา มีต้นทุนไม่อิสระ จิตไม่สามารถอยู่กับปัจจุบันได้ ถึงจะทำให้บุตรหรือคนที่รัก ให้แล้วก็ยังผูกพัน ห่วงอยู่ หรือมีอิสระหรือไม่   และชีวิตที่เกิดมาและตายลงหาได้แค่เพียงวัตถุธาตุชั่วแวบหนึ่งเพียงนี้หรือ    แล้วจิตวิญญาณจะทำอย่างไร ที่ได้มาหรือมีอยู่เบียดเบียนมนุษย์สัตว์และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติหรือไม่ ดิ้นมาทั้งชีวิตจะมาจบลงเสียเช่นนี้เสียภพชาติที่เกิดมาหรือไม่ แล้วจะได้เกิดอีกเมื่อใด ตอนไหน หรือ ณ เวลาอนันต์ และจะได้พบกับพระพุทธศาสนาหรือไม่  กับทั้งจะหาวิธีการ หรือกระบวนการใดๆ        มาจัดการหรือชำระกิเลสที่มีอยู่


พ.ต.ท.สุรเดช  ผะอบทิพย์

                                                                                                                                 ๑ ธ.ค.๕๖

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม