วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

สมาธิเคลื่อนที่กับข้อคิดข้อธรรม ๓



 สมาธิเคลื่อนที่กับข้อคิดข้อธรรม ๓

๑.ยึดในสิ่งที่ต้องเสื่อม ยึดทำไม ยึดในสิ่งที่ต้องแตกดับ ยึดทำไม ยึดในสิ่งที่ต้องสูญ ยึดทำไม ยึดถือแล้วต้องมีภาระต้นทุน  ยึดทำไม ยึดแล้วมีโทษภัย ยึดทำไม ยึดแล้วมาตาย ยึดทำไม ยึดแล้วมาจมอยู่กับภพ ยึดทำไม มีหรือเกาะเกี่ยวกับสิ่งใดแล้วเป็นทุกข์ พึ่งเว้นหรือลดระดับ....(มีมากเจ็บมาก ต้องจัดการดีๆแล้วหยุดไม่ได้นอกจากขันธมาร หรือความแตกดับ.... มนุษย์มีเวลาน้อย)

๒.โลกเป็นเวทีชีวิต(และภูมิภพ) ไม่พึงจริงจังมาก(เป็นเพียงสมมุติบัญญัติ) แต่ต้องจริงใจ(ตรงต่อสภาวธรรม) ชีวิตใช้ไปสิ้นไป หมดไป หายไป.... เวลาหมดทรัพย์หมด สิ่งที่มีที่เป็นกำลังเสื่อม

๓.ขายที่ได้ ๕๐ ล้าน แล้วเป็นมะเร็ง ร่ำรวยแล้วมาชรา มีหรือได้ทั้งหมดแต่เวรภัยและโทษรออยู่ หรือทำทั้งชีวิตแต่ไม่ได้ใช้.....ชีวิตตกคำนวณ

๔.เราถูกโลกสร้างขึ้น เมื่ออยู่นานเข้าใจว่าร่างเป็นของเราและโลกเป็นของเราทุ กอย่างไม่ใช่ของเรา รำกันพักเดียวเดี๋ยวก็จบ...แตกดับกันหมด เมื่อความตายรออยู่ข้างหน้า ไม่พึ่งแสวงหา ดิ้นรน หรือแบกสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่งจนเป็นทุกข์ เวลาหมดทรัพย์หมด ค่อยๆอยู่และหากินกันไป ไม่พึงเหนื่อย...กินข้าวอิ่ม แต่ใจยังอยาก วิตก แค้น คับแค้น พยาบาท.......กรรม......

๕.พูดง่ายๆ เช่น จะสร้างบ้านสักหลังแต่ชีวิตจริงกว่าจะเสร็จทั้งชีวิต เราไม่พึงเกิดมาเพื่อบูชาทรัพย์ (มีทรัพย์ต้องใช้อย่าเก็บ) พูดต้องคิด จริงเท็จเพ่งเห็นได้

๖.กลางวันก็ไม่จริง กลางคืนก็ไม่จริง ผมดำก็ไม่จริง ผมขาวก็ไม่จริง วันเดือนปีเทศกาลก็ไม่จริง เพียงแค่ได้ใช้ผ่านไป แล้วมัน(เส้นผมหรือสิ่งอื่นใด)ก็ร่วงล่นหายไป......ความสุขต้องมีทุกวัน วันไหนไม่มีความสุข วันนั้นขาดทุนทางจิตวิญญาณ....(วันนี้เราจะไม่เคือง และปรารถนาสิ่งใด)

๗.เราเกิดมาจากความไม่มี แสวงหาจนมี แล้วมาไม่มี ผลรวมของการมีเท่ากับศูนย์ ไม่พึงเหนื่อยมาก...

๘.บ้านบางหลังเหมือนถังขยะ เก็บ ได้มาแล้วก็เก็บ เก็บจนลืม ไม่ได้ใช้.....มีโทษ(เกะกะ รก หนู แมงสาบ งู มาอยู่)

๙.ถึงจะได้อะไรมา สุดท้ายโรงศพก็รออยู่ เมรุก็รออยู่ ดูแล้วชีวิตนี้ไม่มีอะไรเป็นแก่นสาระ มีแต่จะถูกบดขยี้ไปทุกขณะๆ หรือดำเนินไปสู่ความเสื่อมความแตกดับ วันเวลาก็เหลือน้อยลงทุกที เราทั้งหลายพึ่งมีธรรมเป็นที่พึ่งแห่งจิตวิญญาณ...เจริญกุศลหน้ายิ้มผ่อง อกุศลเกิดจิตย่อมเศร้าหมอง(วิตกคับแค้นหงุดหงิดไม่พอใจพยาบาทฟุ้งซ่านหดหู่กลัวปรารถนาไม่รู้สงสัยทุกข์)พึงชำระความโกรธด้วยปัญญา......โกรธเขาเราร้อน เขาทุกข์อยู่แล้วโกรธเขาทำไม โกรธเขาทำไมเขาทุกข์อยู่แล้ว เมตตาๆๆๆ......

๑๐.สิ่งต่างๆที่มีที่เป็นกำลังจะพังหรือเสื่อม ตั้งอยู่ไม่นานเพราะถูกไตรลักษณ์บดขยี้ รูปไม่ใช่ตัวตนเพียงมีตัวตนชั่วขณะหนึ่งๆ เราทั้งหลายมารวมตัวกันแวบหนึ่งภายใต้สภาวะเหตุปัจจะโย........ท้ายที่สุดก็ว่างเปล่า.........เมื่อยังมีสภาวะหรือรูปนามอยู่ก็แสดงไปตามสมมุติบัญญัติหรือสมมุติตามความเป็นจริง....

๑๑.เราทั้งหลายไม่พึงมองหรือเปรียบเทียบกับผู้อื่นเลยเพราะมนุษย์สัตว์ต่างมีเหตุปัจจัยและกรรมที่ทำมาไม่เหมือนกัน พึงใช้ชีวิตไปตามเหตุตามปัจจัยและไม่เกินกำลังและคำนวณการในสิ่งที่ทำและมี สิ่งหรือการใดที่ทำหรือมีแล้วเป็นทุกข์ไม่พึงให้เกิดหรือมีขึ้นอีก จงมีสติและความเพียรในการดำเนินชีวิต......อนึ่ง ไม่พึงหากินมากเพราะไม่ได้ใช้หรือได้ใช้น้อยครั้ง และต้องไหลไปสู่ความแตกดับทั้งหมด...ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เวลาที่น้อย อายุที่มาก โรคภัยที่มี ภาวะที่เสี่ยง ต้องระวังและรักษาร่าง.....

๑๒.งานไม่คั่งค้างเป็นมงคล จิตไม่วิตกไม่เศร้าหมอง คิดนานเป็นทุกข์ สงสัยเป็นทุกข์  ไม่รู้เป็นทุกข์ เข้าใจไม่โดยตลอดสายก็ทุกข์..

๑๓.รู้ ความรู้พัฒนาไม่สิ้นสุดและไม่เห็นจิตภายในจิต รู้ กิเลสสังเกตพิจารณาหาอุบายวิธีจิตดับ เมื่อเอาโลกมาเป็นความสุขย่อมไม่เห็นแจ้งธรรม เพราะยินดีพอใจจิตติดจมอยู่กับสิ่งนั้น(กิเลสก่อทุกข์ต้องใช้ปัญญาชำระเห็นโทษเวรภัย ต้องฝึกสติ รักษาศีล)

๑๔.เมื่อเห็นความไม่เที่ยง ความแตกดับ ความเป็นอนัตตา(ความไม่ใช่ตัวตนแต่มีตัวตนชั่วขณะหนึ่งๆแล้วก็ดับสลายหายไป) เราทั้งหลายไม่พึ่งยึดมั่นถือมั่นหรือติดจมกับสิ่งใดๆ....ขนไปไม่ได้เป็นอยู่กับปัจจุบันก็ทุกข์แล้ว ได้รับการชื่นชมสรรเสริญไม่นาน..สุขไม่นาน......

๑๕.มีสิ่งใดก็ทุกข์กับสิ่งนั้น จิตไม่อิสระ ทำเพื่อได้ไม่ได้ ทำเพื่อไม่ได้ได้(จิตสุข สงบ เย็น ทำการใดคิดได้ใจทุกข์ มนุษย์มีเวลาน้อย อดีตในโลกนี้ไม่มี)

๑๖.เมื่อทำการใดๆ ไม่มีโทษภัยเวรภัยย่อมเป็นสุข จิตสงบเพราะมีปกติมาก่อน..มนุษย์มีเวลาน้อย อายุมากต้องเตรียม....อายุน้อยต้องเหนื่อย.....มนุษย์กับทุกข์คู่กัน

๑๗.เมื่อมีความตายรออยู่ข้างหน้า เมื่อมีแล้วต้องจากหรือพลัดพราก เมื่อมีแล้วไม่เที่ยงต้องเสื่อม เมื่อมีแล้วต้องรักษา เมื่อมีแล้วเป็นโทษภัย เมื่อมีแล้วต้องหวงห่วงหาอีก เราทั้งหลายพึงมีสิ่งใดๆเท่าที่จำเป็นและต้องใช้ หากมีแล้วเป็นทุกข์ไม่พึงมี เช่น มีทรัพย์เกินฐานะ มีบุตรเมื่ออายุมาก มีเมียเด็ก......อนึ่ง ไม่ว่าจะมีและได้สิ่งใดๆมา เมื่อถึงเวลาหรือกำหนดจะต้องวางสิ่งต่างๆนั้นทั้งหมด....

๑๘.ถ้ามนุษย์หรือชีวิตเกิดมาเพื่อตายลงไปพร้อมกับลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ในช่วงหรือขณะชีวิตหนึ่งๆแล้ว ก็ไม่ต้องมีพระพุทธเจ้าก็ได้ แต่ทำไมในเบื้องต้น คนจึงต้องทุกข์ใจ เครียด บ้า และฆ่าตัวตาย ตรงนี้มิใช่เพราะจิตหรือ หรือสภาพที่เป็นนามธรรม(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)หรือ  ความรู้ทางโลกมองเพียงโลก แต่ทางพุทธ มองอนันต์ภพ เวลาอนันต์หรืออสงไขยหรืออจินไตย และที่สำคัญหรือหลักมองจิตภายในจิต หรือเรียนรู้ทุกข์ เรียนรู้กิเลสเพื่อหยุดเกิด หยุดตาย หยุดสังสารวัฏฏ์ เราทั้งหลายมีชีวิตหรือมารวมตัวกันเพียงแวบหนึ่งจริงๆ....อนึ่ง กรรมของจริง....ทำกรรมเช่นใดใจก็นึกคิดปรุงแต่งเช่นว่านั้น (มันมีสัญญามันหลอนไม่พึงอยู่คนเดียวแต่ท้ายที่สุดลูกเมียผัวเพื่อนหรือผู้ใดก็ช่วยเราไม่ได้ มันเป็นกฎธรรมชาติ หรือธรรมหรือเหตุปัจจะโย.....)

๑๙.เมื่ออยู่ร่วมกับผู้ไม่มีศีล ไม่มีวินัย ไม่มีมรรยาท ไม่มีความรับผิดชอบ ก็ต้องถูกกระทบหรือถูกเบียดเบียนทำให้หงุดหงิดไม่พอใจหรือคับแค้นใจ น้อยใจเป็นธรรมดา เราทั้งหลายพึงกำหนดรู้และหาอุบายวิธีรีบดับหรือชำระอารมณ์นั้นเสีย ไม่พึงเคืองโกรธอาฆาตพยาบาทผู้นั้น เพราะเป็นกรรมของสัตว์ สิ่งต่างๆ หรือวัตถุธาตุต่างๆจะมีคุณสมบัติเฉพาะและแสดงออกมาตามคุณสมบัติของวัตถุธาตุนั้นๆ มันเป็นเช่นนั้นเองหรือเหตุปัจจะโย หรือพึงอดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วมันจะค่อยๆดับลงไปเอง..

๒๐.เมื่อความตายรออยู่ข้างหน้าจะมีประโยชน์อันใดที่จะดิ้นรนจนเป็นทุกข์ เมื่อความตายรออยู่ข้างหน้าจะมัวเพลิดเพลินยินดีพอใจได้หรือ เมื่อความตายรออยู่ข้างหน้าใยต้องแย่งชิงและเบียดเบียนกัน เมื่อความตายรออยู่ข้างหน้าทำไมไม่เมตตาเกื้อกูลกันแบ่งปันกัน เมื่อความตายรออยู่ข้างหน้า เราทั้งหลายตายกันหมด.....

๒๑.เมื่อวานเราก็ได้ วันนี้เราก็ได้ และที่ผ่านๆมาเราได้มาทุกๆวันเลย แต่รู้หรือไม่ เวลาชีวิตเราได้หมดลงกับสิ่งที่ได้นั้นแล้ว และที่เหลือกี่วัน กี่เดือน กี่ปี เราเรียกเวลาคืนไม่ได้ ย้อนมันก็ไม่ได้ เปลี่ยนมันใหม่ก็ไม่ได้ สรุปเราเกิดมาเพื่อเพียงแสวงหา ดิ้นรน และแบกซึ่งวัตถุธาตุแล้วก็มาแตกดับลงเหมือนดังเอาชีวิตมาตายทิ้งๆๆๆๆ....แล้วมีพุทธศาสนาทำไม อนึ่งภายใต้บังคับแห่งไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)สรรพสิ่งทั้งปวงคือไอติม หรือไอศกรีม(แปรเปลี่ยนสลายหายหมด)ไม่ควรมั่นหมายเพราะสิ่งที่กำลังยึดกำลังเสื่อมและพัง ปัจจุบันสิ่งที่มีก็ต้องรักษา....แต่บ้างชีวิตกำลังจะสิ้น บ้างเหลือไม่กี่ปี บ้างเหลือสิบปี บ้างสิบห้าปี บ้างพรุ่งนี้ หรืออีก ๕ นาที ก็ได้ เพราะชีวิตคือระเบิดเวลาและเป็นรังของโรค เราทั้งหลายไม่ควรเหนื่อย......เห็นแจ้งธรรม....

๒๒.คนตายเพราะความคิดมีมาก(ผูกคอตาย) คนบ้าสติไม่ดีเพราะความคิดก็มาก คนประสาทเพราะความคิดก็มาก คนที่เครียดเพราะความคิดก็มากๆๆ คนเศร้าหมองเพราะความคิดก็มาก คนมีแล้วมาจน คนดีแล้วมาบ้าก็เพราะความคิด......ธรรมพระพุทธเจ้าช่วยเราได้.....

๒๓.จะปฏิรูป จะปฏิวัติ จะพัฒนาซึ่งระบบหรือกระบวนการทางสังคมหรือออกแบบสังคมหรือองค์กรใดๆก็ตามก็ไร้ผล ถ้าขาดธรรมเพราะเป็นการแก้ปัญหาที่เปลือก(คนทำลายระบบได้ โดยเฉพาะระบบอุปถัมภ์) และที่สำคัญดับทุกข์ใจแต่ละคนไม่ได้....สุขไม่จริงหรอก.....หลอกกันไปวันหนึ่งๆๆๆ แล้วก็แตกดับแยกย้ายหายกันไปตามกฎกรรมที่ทำมา.....ที่สุดแห่งชาตินี้ผลรวมของการได้และมีจะเท่ากับศูนย์ มีสิ่งใดก็ทุกข์กับสิ่งนั้น...แม้ยังไม่ได้มาก็ทุกข์ เมื่อจากพลัดพรากชำรุดเสียหายป่วยก็ทุกข์...มนุษย์กับทุกข์เป็นของคู่กันจริงๆ ธรรมดาหยุดใจที่คิด หยุดจิตที่ปรุงแต่งให้ได้(ต้องใช้มรรค ๘) เราทั้งหลายเหนื่อยกับความคิด....

๒๔.ไม่ว่าจะกั๊ก กัก เก็บ กอบ โกย โกง โก้ โก๋ โก แอนกิ๊กเพียงใดก็ตาม ผลรวมของการได้และมีจะเท่ากับศูนย์เสมอ และต้องไปวนลูปตามภพภูมิน้อยใหญ่ อัปเกรดขึ้นมาเป็นมนุษย์ก็แสนยาก ได้พบพระพุทธศาสนาก็แสนยาก ครั้นจะได้ยินได้ฟังธรรมก็แสนยาก....เข้าใจแล้ว ลงมือปฏิบัติธรรมก็ชั่งแสนยาก.... อนึ่ง ความสงสัยหรือขาดศรัทธาในธรรมก็เป็นการปิดประตูลงทันที...

๒๕.หลักภาวนาต้องกำหนด หรือทำ หรือตั้งจิตให้เป็นผู้ให้ เมื่อปรากฏขณะจิตเป็นผู้ขอต้องรีบละรีบดับทันที เพราะสภาพจิตผู้ขอเมื่อมีการสะสมมากๆจะนำไปสู่โทสะ ข้อพิสูจน์ ขณะจิตเป็นผู้ให้ใจจะสบาย เย็น แต่ขณะจิตเป็นผู้ขอจะดิ้นรน เร่าร้อน กระวนกระวาย ไม่เป็นสุข

๒๖.หลังความตายมีใครได้ยินเสียงเราบ้าง มีใครพูดถึงเราบ้าง แล้วเราไปอยู่ไหน เราไม่พึงให้วัตถุหรือความเจริญมาปิดหูปิดตาเรา เราอาจจะมองโลกเท่าเมล็ดถั่วเขียว มองตัวเราเหมือนอนุภาคชั่วขณะหนึ่งๆในจักรวาลแล้วก็แตกดับสลาย(รูปังอนัตตา)เราทั้งหลายพึงเห็นความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆเพราะสรรพสิ่งทั้งหลายกำลังดำเนินหรือเคลื่อนตัวไปสู่ความแตกดับ เรามีเสื้อ เรามีข้าว เรามีตัวตน เดี๋ยวก็ซีดขาด,บูดเหม็นและเจ็บแก่ตามลำดับ ผลรวมของการได้หรือมีจะเท่ากับศูนย์เสมอ แต่ในทางจิตวิญญาณต้องไปวนภูมิภพไม่รู้ไปจบลงตรงไหน(ย้อนเวลาไม่ได้ เวลาอนันต์ ชีวิตคือสายน้ำ.......สิ่งต่างๆที่เราเห็นจะมีสภาพเห็นได้เพียงครั้งเดียวเพราะมันเปลี่ยนแปลงไปทุกขณะๆ)

๒๗.รู้และใช้ทรัพย์ให้เป็นสุข ไม่พึงมีทรัพย์แล้วเป็นทุกข์(รถใหม่ กิ๊กใหม่ ต้องระวัง มีมากต้องรักษา มีปัญหาเวลาไป...)

๒๘.แม่น้ำหลายสายไหลรวมลงทะเลมหาสมุทร ร่างกายมนุษย์สัตว์ไหลรวมลงธรณี เมื่อมีชีวิตเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิตให้มากที่สุดแล้วก็วางมันทุกๆอย่าง ทุกๆสิ่ง ละครจบ เวลาหมด ทั้งหมด หมดกัน เมื่อเป็นดังนี้ ทำการใดๆต้องคำนวณอาทิ มีหรือสุขมาก ไม่อยากตาย, อายุมากไม่พึงขยายกิจการหรือมีบุตรหรือลงทุนใดๆ หรือสร้างเหตุปัจจัยใดๆที่มีผลต่อวันข้างหน้า, ตักข้าว ตักน้ำ ตักตวงก็ต้องคำนวณ....

๒๙.เราทั้งหลายไม่ได้อะไร เพราะสิ่งที่ได้อยู่นั้นกำลังพังหรือเสื่อมหรือเรากำลังจะจากสิ่งนั้นไป ใช้ชีวิตไปตามเหตุตามปัจจัย ชีวิตใช้ไปสิ้นไป หมดไป และไปเลย ยาวๆๆๆๆ......หากทำกรรมไม่ดี

๓๐.หลังความตายมีกี่คนที่พูดถึงเรา หลังความตายไม่กี่ปีคนก็ลืมเรา หลังความตายคนรุ่นใหม่ๆก็แทนที่เรา เราเกิดมาเพื่อเดินออกจากโลก เพียงดื่มอาบเคี้ยวกินใช้สอยเสร็จแล้วก็ไป เราไม่พึงมั่นหมายจนเป็นทุกข์

๓๑.เราไม่ควรให้ความตายมาหยุดเรา เราไม่ควรเกิดมาเพื่อตายทิ้งๆๆๆ พึงเสพความตายหรือระลึกถึงความตาย หรือทำอารมณ์ตายบ่อยๆ(มรณัสสติ)เพื่อยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม และเร่งเพียรเจริญกุศลให้ยิ่ง ผู้ใดบินได้ เหาะได้ ดำดินได้ มันเป็นเรื่องของเขา แต่ก็ไม่เก่งไปกว่านกหรือไส้เดือนตามลำดับ เราพึงมาจัดการเรื่องของเรา เรามาศึกษาและปฏิบัติก็เพื่อออกจากทุกข์ หรือสังสารวัฏฏ์ อนึ่ง  ทำกรรมเช่นใดใจก็ปรุงแต่งนึกคิดเช่นว่านั้น พึง หยุด! หยุด! ทำร้ายทำลายจิตวิญญาณ(เราไม่ได้เกิดมาเพื่อผักเพื่อปลา)

๓๒.เมื่อติดโลก หรือเข้าใจว่าโลกคือโลกเสียแล้ว ใจก็ยึดเกาะอยู่กับสิ่งนั้นเพราะเข้าใจว่า สรรพสิ่งต่างๆมันเที่ยงเป็นอยู่อย่างนั้น เข้าใจผิดเพราะมันกำลังดำเนินไปสู่ความแตกดับ มีการแปรเปลี่ยนทุกขณะๆๆๆ....... เราทั้งหลายพึงตื่นเห็นแจ้งความจริงไม่พึงติดหรือจมอยู่กับสมมุติบัญญัติจนเข้าใจว่ามีตัวตนจริงๆ(รูปัง อนิจจัง รูปัง อนัตตา)เราทั้งหลายได้พบได้เห็นเกี่ยวข้องกันแวบหนึ่งแล้วแยกแตกสลายหายไปอย่างไม่หวนคืนกลับ(ย้อนเวลาไม่ได้)มันเป็นวิวัฒนาการ ทุกสิ่งที่เรามีเราเป็นเป็นการดำรงอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ และในขณะหนึ่งๆนั้นเราต้องมารักษามีต้นทุนไม่อิสระต้องดิ้นรนแสวงหาและแบกหรือประชันซึ่งวัตถุธาตุ หรือลาภ ยศ สรรเสริญ สุข แล้วก็ดับลง เราทั้งหลายต้องต่อสู้กับกิเลสมารและรับมือกับขันธมาร ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก โดยเฉพาะการปรุงแต่งจิต อายุ ๖๐ ปี ต้องรักษาร่างขั้นสูงสุด อายุ ๗๐ ปี ต้องเตรียมตัวหายไปจากโลกนี้ทุกเมื่อ ชีวิตอยู่ถึงชราได้ ดี

๓๓.เมื่อยินดีพอใจในทรัพย์ใจก็ดูดจมอยู่กับทรัพย์มากขึ้นเรื่อยๆจนเวลาชีวิตหมดจิตก็จมวนออกไม่ได้ แล้วจะไปออกเมื่อใด ณ เวลาอนันต์ ย้อนเวลาไม่ได้ ทั้งหมดไหลไปสู่ความแตกดับ (ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา) เราทั้งหลายไม่พึงแสวงหา ดิ้นรน และแบกจนเป็นทุกข์ ยิ่งได้เท่าใดใจก็หวงห่วงและหามากขึ้นเท่านั้น จิตไม่อิสระ ไม่ว่าง ไม่สงบ และหยุดไม่ได้ เมื่อแตกดับไปสู่ภูมิภพที่ไม่งดงาม เว้นแต่มี ทาน ศีล ภาวนา...

๓๔.เมื่ออยู่ร่วมกับผู้ไม่มีศีล ไม่มีวินัย ไม่มีมรรยาท ไม่มีความรับผิดชอบ ย่อมถูกกระทบและกวนใจ(หงุดหงิด เคือง คับแค้น น้อยใจ)เป็นธรรมดา ไม่พึงเคืองหรือโกรธเพราะมนุษย์สัตว์ต่างมีกรรม หรือระดับสติปัญญาหรือคุณสมบัติแตกต่างกันไปจึงแสดงพฤติกรรมออกมาในลักษณะนั้น การบังคับคุมควบก็กระทำผ่านระเบียบวินัยและกฎหมายได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ที่สำคัญต้องพัฒนาระดับภูมิจิตภูมิธรรมกันไปเรื่อยๆ แม้จะหลายภพภูมิชาติก็ตามแต่.....และเมื่อพบบุคคลเช่นว่านั้น พึงภาวนาหรือท่องในใจหรือระลึกว่า เช่นนั้นเองๆ เมตตาๆ ธรรมดาๆ กรรมๆ บัวๆ สัตว์โลกๆ หรือถ้อยคำอื่นใดเพื่อหยุดการนึกคิดปรุงแต่งของจิตที่ถูกกระทบนั้น หรือกำหนดรู้หรือกำหนดพิจารณาตามความเป็นจริง และหรือไล่สายเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้น จิตก็จะคลาย เบา เย็น สงบ......กรรม......

๓๕.สมบัติ สมมุติ(ไอติม/สมบัติน้ำแข็ง) สมบัติ วิบัติ(ถูกฆ่าแย่งสมบัติ) สมบัติ จม หลง ติด เมา สมบัติบ้า......

๓๖.คิดดี(กุศล)ใจเย็น คิดไม่ดี(อกุศล)ให้รีบดับเพราะมันร้อน(ปรารถนาเป็นทุกข์ไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์ พลัดพราก สูญเสีย เคือง โกรธ ฟุ้งซ่าน รำคาญ ไม่รู้ สงสัย วิตก กลัวทุกข์)

๓๗.ความทุกข์เกิดขึ้นเมื่อใดก็สะกิดใจได้เมื่อนั้น เมื่อความทุกข์เกิดมากเท่าใด ใจก็เริ่มเห็นแจ้งทุกข์ เห็นแจ้งธรรมมากขึ้นเท่านั้น ปัญญาก็พลอยบังเกิดตามไปด้วย โลกนี้จริงๆแล้วไม่มีสุข หากกำหนดรู้กันจริงๆ หรือรู้เท่าทันจิตภายในจิตกันจริงๆ

                                                โดย พ.ต.ท.สุรเดช  ผะอบทิพย์

                                                            ๕ มกราคม ๒๕๕๘

บทความที่ได้รับความนิยม