วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

สมาธิเคลื่อนที่ปัญญา

สมาธิเคลื่อนที่ปัญญา 
เมื่อท่านใดได้ฝึกหรือปฏิบัติสมาธิเคลื่อนที่จะทำให้เกิดการดูจิตอย่างไม่เผลอ หรือทำให้เกิดการรู้ตัวทั่วพร้อม (รู้ทุกขณะ ทุกขณะ ทุกขณะ หรือโดยตลอด หรือแทบจะโดยตลอด ตามนัยฟังก์ชันเวลา) และสามารถกำหนดรู้ได้อย่างรวดเร็วหรือทันทวงที กล่าวคือเมื่อจิตส่งออกนอกก็รู้ หรือปรุงแต่งใดๆก็รู้ หรือรู้สภาพและลักษณะของจิตว่ามีอาการอย่างไร เช่น วิตก วิจารณ์ ปีติ ฟุ่งซ่าน รำคาญ สงสัย หดหู่ ง่วง โกรธ อยาก หรือพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ เมื่อรู้แล้วก็สามารถเข้าไปกำหนดและรักษาจิต หรือควบคุม กำกับ จัดการจิตได้ เช่น เมื่อโกรธ บ้า้งก็ท่องว่า โกรธเขาเราร้อน,โกรธเขาทำไม เขาทุกข์อยู่แล้ว,เดี๋ยวมันก็ตาย,หมู่สัตว์ๆ,เมตตาๆ,มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือถูกผู้ใดเอาเปรียบ บ้างก็ท่องว่า หมู่สัตว์ๆ หรือกรรมใครกรรมมัน,มันเป็นเช่นนั้น, มันธรรมดา ทำให้จิตคลายตัวลง และเบาลงจนหาย หรือดับไป ใจก็โล่งโปร่ง จากนั้นจิตเราก็พิจารณาไล่สายหาเหตุปัจจัย และผลที่เกิดขึ้น ทำให้เข้าใจสภาพ อาการ วิธี และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง หรือเข้าใจในเรื่องที่จิตถูกกระทบหรือกระทบสัมผัสเข้ามาทางอายตนะนั้น จนรู้ว่า  ทุกข์นั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใด หรือสิ่งใด จิตหรือใจก็ยอมรับมันได้ หรือยอมรับตามความเป็นจริง จึงทำให้เฉย หรือเกิดอุเบกขา และเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นเช่นอีก จิตก็จะเฉยอีก หรือเฉยๆไปเรื่อยๆ และในเหตุการณ์อื่นๆก็จะเฉยเช่นกั้น จนจิตไม่อยากปรุงแต่ง หรือจิตไม่อยากทำงานอีกแล้ว เพราะมันเป็นเช่นนั้นเอง หรือเป็นไปตามกระบวนการของเหตุปัจจัยที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาแล้วก็แตกดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หรือไตรลักษณ์ หรือไอ้ติม ใจหรือจิตจึง คลาย หรือวาง หรือไม่ยึด           เมื่อใจวางบ่อยๆ ไปเรื่อยๆก็จะลู่เข้าหา  (ลิมิต)  "จิตว่าง  และ เมื่อท่านได้ใช้ปัญญาพิจารณาธรรม(สิ่งต่างๆรอบตัวเรา และเรา) แล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่า เดี๋ยวก็หายกันไปหมด ทยอยกันไปหมด แตกดับและพังหมด หมดกันแล้ว ไม่เหลืออะไรเลย ทั้งท่าน ทั้งเรา ทั้งอาณาจักร ทั้งหมดทั้งปวง ทั้งโลก ทั้งจักรวาล เพราะสิ่งต่างๆถูกปรุงแต่งขึ้นมา ไม่ว่า จะเป็นเรา องค์กร หน่วยงาน รัฐ ประเทศ สังคม กฎหมาย หรือสิ่งใดๆ ทั้งที่เป็นรูปและนาม(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง) เมื่อถูกปรุงแต่งขึ้นมาแล้วก็แปรปรวนล้มสลายแตกดับลงไปหายไปหมดหรือ เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (ไม่มีตัว ไม่มีตน คนใดเหลืออยู่เหลือ) เมื่อเป็นดังนี้ จะโลภกันไปถึงไหน เดี๋ยวก็ตายแล้ว เวลาชีวิตใกล้หมดแล้ว หรือเหลือน้อยเต็มที่แล้ว ยังอยากมี อยากเป็นอีกหรือ  จะมี จะเป็นได้สักเท่าใดหรือ วัตถุธาตุ(บ้าน รถ ภรรยา ทรัพย์สิน)ที่มีอยู่จะได้ใช้สักกี่ครั้งหรือ  บ้าน ที่ดิน หรือทรัพย์ที่อยู่ต่างจังหวัด หรือวัตถุธาตุหลายชิ้น (บ้าน ๓ หลัง เมีย ๕ คน รถ ๓ คัน)นั้น เป็นอย่างไรตอนนี้ เดินทางไปดูบ้างหรือยัง จะได้ใช้หรือได้อยู่ตอนไหน  และจะได้ใช้หรือได้อยู่สักกี่ครั้ง จะเก็บให้ลูก ให้หลาน หรือคนรักใช่ไหม และก่อนได้มาเหนื่อยไหมและระหว่างที่ดำรงอยู่เป็นภาระไหมและเมื่อพลัดพรากเป็นไง เจ็บใช่ไหม  บ้างก็ได้เมียน้อยรูปร่างงดงามมันดี และมีบุตรตัวเล็กๆ ยังตายไม่ได้นะ ทั้งธุรกิจที่ลงทุน และขยายไว้ บ้านหลังใหญ่ หรือรถที่ซื้อใหม่เป็นอย่างไร ผ่อนส่งเหนื่อยไหม (โทษของความอยากมองเห็นได้ยาก มันหนาวเหน็บ และซ่อนความเจ็บไว้ โทษของความโกรธเห็นได้ชัด สิ่งของพัง คนเจ็บ และตาย  โทษของอวิชชามากมายหรือเกิน) แล้วมีสภาพเป็นเช่นไรบ้าง เก่า ชำรุด น้ำท่วมหรือเปล่า คนรักที่รูปร่างงดงามตอนนี้รูปร่างเป็นเช่นใดแล้ว ถ้าท่านไม่หยุด ท่านก็ต้องรับไปทั้งทุกข์และสุข แต่ท้ายสุด ท่านจะต้องทุกข์อย่างหนาวเหน็บ และหากท่านยังดื้อหรือไม่หยุดอีก เดี๋ยวเขาจะจัดให้ หรือจัดการให้ แล้วท่านจะเจ็บ แล้วจะไม่พอใจ แล้วจะตายอย่างทรมานหรือไม่อยากตาย แต่มันก็ต้องตาย ต้องแตกดับ บ้างก็นอนเจ็บอยู่บนเตียง บ้างก็เป็นโรค บ้างก็เกิดอุบัติเหตุ บ้างคู่รักก็จากไป บ้างก็สังขารเสื่อม บ้างก็เป็นบ้า และเมื่อนั้นวัตถุธาตุที่ท่านมี ท่านก็ไม่ได้จัดการอีกแล้ว เพราะท่านจะต้องไปแล้ว หรืออาจจะไปเสียเดี๋ยวนี้ก็ได้ (ถูกรถชน ตกน้ำ เกิดอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ) ไม่เว้นแม้แต่ เด็กหรือหนุ่มสาว เดี๋ยวเจ็บ  จงรีบจัดซะ หรือเดินแนวตามกฎยึดมั่นถือมั่นทั้งนี้เพื่อลดเป้าแห่งทุกข์(ท่านมีลูกหลายคน ท่านก็ต้องเจ็บหน่อย เพราะลูกคนที่ ๓ มันยังตกงาน หรือติดยาบ้า หรือยากจน หรือลำบาก หรือพิการ ท่านมีทรัพย์หลายชิ้นก็รับภาระหน่อย ดูแลไปเรื่อยๆ อย่าให้มันพลัดพรากไปนะ) มันเป็นกรรมของสัตว์ที่เกิดมา ยิ่งตัวเล็กๆ อายุน้อยๆ ยิ่งน่าสงสาร เพราะต้องเจออะไรอีกเยอะ ใครแก่ มีอายุมากแล้วถือว่า โชคดี เพราะเจ็บมาเยอะแล้วใช่ไหมเอ่ย จงหยุดใจเถอะ ถ้าไม่หยุด มันไม่รู้ว่าจะไปหยุดตอนไหน มันไม่ใช่จะหยุดกันง่ายๆ เบื้องต้นให้ทำทาน รักษาศีลก่อนก็ได้ หรือหากจะหักดิบก็ให้ใช้ความตายเป็นอารมณ์อยู่บ่อยๆก็ได้ เมื่อนึกคิดขึ้นได้ก็ให้นึกถึงความตาย เพราะมันต้องตาย มันต้องตายกันหมด ไม่มีประโยชน์ที่จองเวร ผูกโกรธ ถึงชนะก็ชนะไม่กี่ครั้ง วัตถุธาตุที่แสวงมาทั้งหมดก็เอาไปไม่ได้ แต่ทำไมต้องดิ้นมาทั้งชีวิต ดูใจตัวเองว่า กระวนกระวายไหม อย่าให้จิตต้องเจ็บมากกว่านี้เลย หากผู้ใดเป็นนักบัญชี ก็ลองทำรายการใจสุขทุกข์ที่อินทรีย์รับการกระทบสัมผัสเข้ามา แล้วจะรู้ว่า ในวันหนึ่งๆ ใจเจ็บไม่รู้กี่ครั้ง ไม่รู้กี่หน แล้วจะรู้ว่าทุกข์เกิดขึ้นกับเราทุกขณะ ทุกขณะ เพียงขยับก็ทุกข์แล้ว ต้องให้ขยับไกลจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ใช่ไหมถึงจะรู้สึก  ตักแกงอย่ามีช้อนแกง ซื้อทีวีอย่ามีรีโมท ขับรถจักรยาน ขับรถด้วยความเร็ว ๖๐ กม./ชม. เด็ดใบกะเพราอย่ารูด รองน้ำใส่ตุ้มจงรอ  เห็นไหมใจมันดิ้น ร่านรน ปรารถนา อยาก หรือทุกข์นั้นเอง หรือใจเพียงคิด เทียบ อยาก วิตก วิจารณ์ สงสัย ฟุ้งซ่าน รำคาญ ก็ทุกข์แล้ว  สุดท้ายหากท่านพบกับสิ่งที่ไม่พอใจ จงจำหรือท่องในใจไว้ว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง,หมู่สัตว์ๆ (โลภ โกรธ หลงเป็นคุณสมบัติของมนุษย์ หรือวัตถุธาตุใดๆ จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว และจะแสดงออกมาตามคุณสมบัตินั้นๆ เช่น สิงโตดุร้าย แมวไม่ดุร้าย จงยอมรับในคุณสมบัติตามความเป็นจริง) ไม่เที่ยงๆ ธรรมดา มันธรรมดา และหรือหากพบหญิงสวยงามก็นึกในใจว่า เนื้อ หนัง เอ็น กระดูก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ อาหารเก่า อาหารใหม่ และตกขาว หรือรูปังๆ หรือรูปังอนิจจัง รูปังอนัตตา หรือตกขาวๆ หรือตาคมๆ ผมยาวๆ สาวรุ่นๆ จงอยู่กันไปเรื่อย ใครมีหน้าที่อะไรก็ทำไปไม่ต้องมั่นหมายสิ่งใด เพราะความตายรออยู่ข้างหน้า ไม่แน่ว่าจะตายตอนนี้ก็ได้ อยู่ไปตามเหตุปัจจัยที่เกิดขึ้นแล้วจะดีเอง ส่วนใครที่ยังทุกข์ หรือเป็นหนี้อยู่ หรือรับภาระสิ่งใดอยู่ เพราะสร้างกรรมเช่นนั้นไว้ ทำไปเรื่อยๆ แล้วจะคลายตัวลงเอง ท่านคงไม่ทุกข์เช่นนี้เรื่อยไปหรอก เพราะมันไม่เที่ยง แปรปรวนไปเรื่อยๆ จงอดทน มีสติ และความเพียร แล้วท่านจะหายจากทุกข์เช่นว่านั้น และหากท่านรู้ตัวเมื่อใด ขอให้ท่านจงเฝ้ามองกาย และใจ(ดูจิต) เพื่อที่จะรักษาจิต(อบรมจิต สอนจิต เตือนจิต)ของเราให้เข็มแข็งอยู่ในโลกนี้ต่อไป แม้โลกใบนี้จะเต็มไปด้วยหมู่สัตว์ก็ตาม ผู้ใดโกงก็ปล่อยเขาไป เพราะมันเป็นคุณสมบัติของมนุษย์ที่อยาก เขาไม่ไล่ล่าฆ่าเราก็ดีแล้ว เขาใหญ่  เก่ง อวด โชว์ ก็ปล่อยเขาไป เพราะมันเป็นคุณสมบัติของมนุษย์ที่มีมานะทิฐิ หรือสรุปได้ว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง(ตถตา) หรือธรรม หรือมันธรรมดา ใครจะครองตน ครองคน ครองงานก็ปล่อยเขาไป แต่ผู้ใดมาทางนี้หรือทางพระหรือทางธรรมะ จะต้องดำเนินไปสู่กระบวนการสละ หรือละ หรือทิ้งร่าง(รูป) หรือธาตุขันธ์ หรือเมื่อเข้าใจสภาวธรรมแล้วก็จะเกิดการเบื่อหน่ายในสังขาร หรือร่างกายของเรา หรือมองเห็นทุกข์ เห็นไตรลักษณ์หรือภาษาพระเรียกว่า มีดวงตาเห็นธรรม นั้นเอง จงมีสติทุกเมื่อ(หากมีสติหรือรู้ตัวโดยตลอดแล้วจะไม่ทุกข์)และพิจารณาธรรม(เราและสิ่งรอบตัวเรา หรือมนุษย์ โลก จักรวาล และจิต หรือสติปัฎฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม)และใช้ปัญญาชำระกิเลส อย่าไปปรุงแต่งอะไรมาก เดี๋ยวก็ตายกันหมด ปัจจุบันก็ทยอยกันตายไปเรื่อยๆ ไม่เห็นหรือ หรือจะต้องให้ตายกันเป็นจำนวนมากๆ ตาย ทั้งหมดตาย แล้วไม่รู้ว่าจะพบกันเมื่อใดอีก เรามารวมตัวกันแวบหนึ่ง แล้วก็จากกันไป หรือแยกย้ายกันไป ตามกฎกรรมที่ทำมา

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สมาธิเคลื่อนที่กับการดูจิต

                    
เมื่อท่านใดได้ฝึกหรือปฏิบัติสมาธิเคลื่อนที่โดยเอาการงานหรือการทำการใดๆ เป็นฐานของสติแล้ว จะเห็นได้ชัดเจน ชัดเจนว่า เมื่อท่านออกแรงเพิ่มนั้นหมายถึงตัณหาเกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นการดูจิตไปในตัวว่า เร้าร้อน ดิ้นร้น ปรารถนา อยาก หรือทุกข์เกิดขึ้นแล้ว ฉะนั้นการทำสมาธิเคลื่อนที่จะทำให้เกิดการดูจิตอย่างละเอียด ทุกขณะ ทุกขณะ หาใช่ดูเป็นวินาทีต่อวินาทีหรือไม่ต่อเนื่อง ในทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า ระบบดิจิตอล การดูจิตทุกขณะอย่างต่อเนื่องนี้ เรียกว่า ระบบอนาล็อค เมื่อเกิดการดูจิตขึ้นแล้ว นั้นหมายถึงเรามีสติหรือรู้ตัวทันทวงที เราก็จะทำการปรับแต่งการเคลื่อนไหวของกาย หาวิธีการเคลื่อนไหว หรือส่วนประกอบหรือเหตุปัจจัยเกี่ยวกับสิ่งที่ทำนั้นให้ดีขึ้นกว่าเดิม(การพัฒนา) ซึ่งตรงนี้ทำให้เกิด “อนุพันธ์ย่อยทางปัญญาหรือ ธรรมวิจัยในงาน หากอนุพันธ์ย่อยทางปัญญามีผลรวมเป็นจำนวนมากๆก็จะทำให้การทำการใดๆ หรือการงานใดๆ เป็นผลเลิศ คำว่าผลเลิศนี้หมายถึง งานเป็นผลดี คนก็เป็นสุขยิ่ง(ใช้พลังงานน้อย ไม่เหนื่อย) หรือในทางบริหารจัดการอาจเรียกสมาธิเคลื่อนที่นี้ว่า การจัดการทางวิทยาศาสตร์ระดับจุลภาคมองขอบเขตของกายหรือเฝ้าอยู่กับกาย แต่ได้ผลในทางศาสนาด้วยเรียกว่า ดูจิต จึงชี้ให้เห็นว่า สมาธิเคลื่อนที่เป็นการปฏิบัติธรรมชั้นสูง ไม่จำกัดสถานที่ เวลา โอกาส จึงจริงอย่างคำที่ว่า กรรมฐานหมายถึง ที่ตั้งแห่งการงาน จึงชอบแล้วว่า เอาจิตหรือหาที่อยู่ให้จิตผูกไว้ที่การงาน

            ข้อควรสังเกตของสมาธิเคลื่อนที่ คือคำว่า จังหวะ หมายถึง คาบ รอบ แนวการเคลื่อนที่เทียบได้กับลมหายใจเข้าเป็น ๑ คาบ ลมหายใจออกก็เป็นอีก ๑ คาบ  ฉะนั้น ๒ คาบ รวมกันเรียกว่าเป็น ๑ รอบ และคำว่า ลมหายใจ อันหมายถึงตัวกำหนดสติ หรือกำหนดรู้ตามนัยพุทธศาสนาสุภาษิตกล่าวว่า  สติกำหนดลมหมายใจเข้าออก...............ลมหายใจเกิดง่ายนิดเดียว เพียงแค่ยกแขน ขา เข่า เอียง หัว ตัว กาย ลุก นั่ง ก็เกิดลมเข้าออกแล้ว เช่น การเดินก็เกิดลมเข้าออกที่ปลายจมูกแล้ว เหตุที่เราไม่สามารถสังเกตลมหายใจหรือรู้สึกมีลมเข้าออกที่ปลายจมูกได้ก็เพราะมีเหตุปัจจัยเกิดจาก จิตส่งออกนอก(วิตก วิจารณ์ ปีติ ฟุ้งซ่าน สงสัย)หรือมีเรื่องราวต่างในชีวิตมากเหลือเกิน อยาก โกรธ พอใจ ไม่พอใจ

            จึงสรุปได้ว่า สมาธิเคลื่อนที่นั้น ต้องการฝึกผู้ปฏิบัติให้มีสติยิ่งยวดหรือมีสติไม่เผลอทุกอิริยาบถหรือให้น้อยที่สุด และในขณะเดียวกันก็ตามดูจิต ดูธรรม(ไม่ขยัน ง่วง)ไปในตัว เพื่อทำให้เกิดปัญญา(จิตตื่นรู้)และยกขึ้นไปสู่ไตรลักษณ์ มองเห็นความแตกดับของสรรพสิ่ง หรือสิ่งต่างๆทั้งปวง หรือขันธ์ ๕ เป็น”ไอ้ติม เมื่อจิตเห็นเช่นนี้แล้วก็คลายความยึดมั่นถือมั่นหรือความมั่นหมายในสิ่งใดๆ จิตจึง วางเฉย และจะลู่เข้าหา จิตว่าง นั้นเอง (ทั้งหมดแตกดับ แตกดับทั้งหมด คน สัตว์ สิ่งของ โลก จักรวาล อวกาศ)

เราอยู่กันคนละแวบ รักกันเถอะ อย่าโกรธหรือทำร้ายกันเลย โลกนี้เต็มไปด้วยหมู่สัตว์ เรารู้ว่า เราอยู่กันแบบสัตว์ๆ หรือผีๆ(ไม่มีสัจจะ) เปรตๆ(อยากได้) สัตว์ๆ(ไม่รัก เคือง ฆ่า ทั้งหมดเผา)
 

บทความที่ได้รับความนิยม