วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เบ็ดเตล็ด

     
การมีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตนั้นจะมีปัญหาให้แก้ตลอด    และปัญหาที่ว่านั้นก็คือทุกข์นั้นเอง หนทางที่จะแก้ปัญหาหรือดับทุกข์ได้นั้น ต้องใช้ปัญญา และการมีปัญญาได้นั้นจะต้องมีสิ่งแรกเสียก่อนนั้นก็คือตัวรู้หรือสตินั้นเอง การแก้ปัญหาได้ดีต้องแก้ที่ตัวความคิด(จิต)เพื่อมิให้เกิดการกระทำขึ้นมา เช่น อยากได้บ้านหลังใหญ่    อยากได้รถหรือทรัพย์วัตถุใดก็ท่องว่า เอามาทำไม, มีประโยชน์อะไร, เป็นภาระเปล่าๆ, ดีหรือ


การคิดลักษณะนี้เป็นการทำในใจโดยแยบคายหรือการโยนิโสมนสิการ เพื่อตัดหรือต้านความคิดไม่ให้อยากได้ เพื่อมิให้เกิดการกระทำขึ้นมาอันจะต้องดิ้นรนหาเงินหาทองเพื่อได้ทรัพย์นั้น        
                                                                                                         

แต่หากมองว่า     สิ่งที่อยากได้มานั้น มีอายุเพียงนิดเดียวไม่ยั่งยืน และตัวเราก็มีอายุเพียงนิดเดียวไม่ยั่งยืนเช่นกันก็เรียกว่าเป็นการพิจารณาในลักษณะการวิปัสสนา ไตรลักษณ์) แล้ว ตำแหน่ง ยศ ศักดิ์ ทรัพย์ก็เช่นกัน ครองได้พักเดียว เดียวก็สิ้น หรืออาจกล่าวเป็นหลักทั่วไปว่าเมื่อเกิดเวทนา(ชอบ ไม่ชอบ อยาก ไม่อยาก) ให้รีบโยนิโสมนสิการ      หรือใช้หลักท่องในใจ(ล่อจิต)ก็ได้เพื่อเปลี่ยนทิศทางแห่งจิตไม่ให้ปรุง (สังขาร) ในสิ่งที่อยากนั้นเพื่อมิให้เกิดสภาพแห่งการกระทำขึ้นมาอันหมายถึงการตัดกระบวนการแห่งการกระทำให้เหลือเพียงความคิด       


ในวันหนึ่งๆ พึงนึกใจไว้ก่อนว่า อย่าคิดว่าเราต้องได้และอย่าคิดว่าเราจะต้องเสีย เนื่องจากหากคิดได้ เป็นต้นว่า เปิดร้านขายของหวังขายของได้เงินมากๆ หากไม่ได้ดังหวังก็ทุกข์  และหากเสียของไปอีก(มีคนลักของไปหรือของเสีย) ก็คงทุกข์หนักขึ้นมากกว่าเดิม การรักษาศีลคือ การไม่เบียดเบียน อัปรีย์ ผี (ไม่มีสัจจะ) เปรต(อยากได้)เมื่อให้ทานแล้ว จะไม่   กั๊ก,กัก,เก็บ,กอบ,โกย,โกง,โก้,โก๋,โก แอนด์กิ๊ก    (ระดับโลภะในการแสวงเข้าครอบครองสิ่งที่มีคุณค่า)  
                         

สังคมจะเป็นสุขก็ต่อเมื่อการไม่อยู่ร่วมกันอย่างผีๆ เปรตๆ สัตว์ๆ(ไม่รัก เคือง ดุ ทำร้าย ฆ่า สังหาร วายวอด ทั้งหมด เผา) และเอาเป็นแต่น้อยๆ( เอา หมายถึงการเอาสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคมเพื่อตนและพวกพ้อง   เป็น หมายถึง  การเข้าดำรงตำแหน่งทางสังคมเพื่อเข้าครอบครองสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม)   เมื่อเป็นมนุษย์แล้ว    หากมีเวลาและโอกาสควรทำความเข้าใจในสิ่งต่อไปนี้ คือ มนุษย์ โลก จักรวาล และจิต    หรือเรียกว่า จตุรทรรศนะ ซึ่งเป็น หลักสูงสุดแห่งพุทธ หรือธรรม หรือธรรมชาติ.      

                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม